ข่าวสารจุฬาฯ

PMCU ผนึกพันธมิตร นำสายสัญญาณสื่อสารลงใต้ดินทั่วสยามสแควร์

ทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ร่วมกับพันธมิตรสื่อสาร True DTAC AIS TOT นำร่องปรับภูมิทัศน์สยามสแควร์ไร้สายสัญญาณสื่อสาร เริ่ม 18 ก.พ. 2562 คาดแล้วเสร็จเดือน เม.ย. นี้

รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม กำกับดูแลสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน พื้นที่สยามสแควร์บนเนื้อที่ 63 ไร่ ซึ่งประกอบไปด้วยอาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ตึกสูง และร้านค้าจำนวนมาก ถือเป็นแลนด์มาร์คสำคัญด้านการท่องเที่ยวใจกลางกรุงเทพมหานคร มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการมากกว่า 280,000 คนต่อวัน

 

 

 

 

ปัจจุบันพื้นที่สยามสแควร์เต็มไปด้วยสารสื่อสารและอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนเครื่องส่งสัญญาณ Wi-Fi โดยทั้งหมดถูกพาดอยู่บนเสาไฟฟ้า กันสาด และผนังอาคารมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานในขณะที่เสาไฟฟ้ามีพื้นที่ให้พาดในจำนวนที่จำกัด อีกทั้งการพาดสายดังกล่าวไม่เป็นระเบีบย กล่าวคือสายสัญญาณบางส่วนที่ยกเลิกการใช้งานแต่ไม่ได้รับการปลดออก ส่งผลต่อทัศนียภาพที่ไม่สวยงามสะอาดตา

สำนักงานฯ จึงมีนโยบายในการดำเนินการจัดระเบียบสายสัญญาณสื่อสารดังกล่าว ด้วยการนำสายสัญญาณสื่อสารดังกล่าวลงใต้ดิน โดยจะมีการจัดสร้างโครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคมด้วยการติดตั้งโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง Fiber Optic Cable (FOC)ฝังในระดับใต้ดินเพื่อใช้ทดแทนสายสื่อสารเดิมทั้งหมด โดยได้มอบหมายให้บริษัททรู คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการหลักโดยร่วมกับผู้ให้บริการ Mobile Operator เช่น AIS DTAC และ Internet Operator ทุกรายในพื้นที่ โครงการดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2562 นี้ เพื่อเนรมิตรสยามสแควร์ ให้เป็นสถานที่ไร้สายสื่อสารต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันปีใหม่ของไทย

นอกจากนี้ยังมีแผนร่วมกับศูนย์ 5G AI/IOT INNOVATION CENTER โดยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำการติดตั้งเสาสัญญาณ ระบบ 5G เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้ใช้บริการภายในสยามแสควร์ได้ทดลองใช้งาน ในพื้นที่สยามสแควร์ โดยจะเริ่มเปิดให้บริการในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ รวมทั้งสำนักงานโดยความร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ยังมีนโยบายทำการรื้อถอนเสาไฟฟ้า และ นำสายไฟฟ้าลงดินซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางปี 2563 เพื่อให้เป็นพื้นที่ไร้เสาไฟอย่างแท้จริง รองอธิการบดีกล่าว

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า