รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 กรกฎาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ Yunus Centre องค์กรชั้นนำด้านการพัฒนาสังคมระดับโลก เพื่อเปิดประตูสู่ความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ มุ่งสร้าง “พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง” ขับเคลื่อนสังคมไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ความร่วมมือครั้งนี้จะเน้นการผนึกกำลังด้านความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากรของทั้งสององค์กร เพื่อขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ในงาน 14th Social Business Day 2024 ณ SMX Aura Convention Center กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมี รศ.ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ร่วมลงนาม MOU กับ Prof. Muhammad Yunus, Founder of Yunus Centre
รศ.ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ เปิดเผยว่าสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ มีความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม (Social Innovation) เพื่อประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง การมองหาพันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมพลังให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน ซึ่งกรอบแนวคิดเรื่อง Social Business ซึ่งขับเคลื่อนโดย Prof. Muhammad Yunus และ Yunus Centre มีความสอดคล้องกับเป้าหมายและภารกิจของสถาบันวิจัยสังคมเป็นอย่างยิ่ง การลงนาม MOU ในครั้งนี้จึงเป็นการรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนแก่ทุกภาคส่วนในสังคม
การร่วมมือกันครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการขยายเครือข่ายและความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ แต่ยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้กับการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมในประเทศไทยและในระดับสากลอีกด้วย การรวมพลังกับ Yunus Centre จะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในระยะยาว
Yunus Center เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและขับเคลื่อนแนวคิดเรื่อง Social Business ซึ่งก่อตั้งโดย Prof. Muhammad Yunus ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยมีพันธกิจหลักในการต่อสู้กับความยากจนและความไม่เท่าเทียมในสังคม วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสทางสังคม และยังทำหน้าที่เป็นแหล่งความรู้และการศึกษา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลและองค์กรในการสร้างธุรกิจที่มีจิตสำนึกต่อสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ
รศ.ดร.อุ่นเรือน กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ และ Yunus Centre ในครั้งนี้จะส่งผลดีอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนสังคมไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืนในหลายด้าน ได้แก่
– การส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เนื่องจาก Prof. Yunus เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเรื่อง Social Business ซึ่งเป็นรูปแบบธุรกิจที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาสังคม โดยใช้กลไกทางธุรกิจเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวก การนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ในสังคมไทย จะช่วยส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมที่สามารถแก้ปัญหาความยากจน ความไม่เท่าเทียม และปัญหาสังคมอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
– การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม เช่น การสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่มุ่งเน้นการสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน
– การพัฒนาความรู้และทักษะ เนื่องจาก Prof. Yunus และ Yunus Centre มีประสบการณ์และความรู้เชิงลึกในการสร้าง Social Business และการแก้ปัญหาสังคมผ่านนวัตกรรม การถ่ายทอดความรู้และการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างทักษะและความรู้ให้กับคนในท้องถิ่นในประเทศไทย ทำให้สามารถสร้างธุรกิจและโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้
– การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรระดับโลก ซึ่งจะช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ เพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากร ที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการพัฒนาสังคมไทยในระยะยาว
– การส่งเสริมความยั่งยืน แนวคิดและการดำเนินงานของ Prof. Yunus มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) การนำแนวคิดเหล่านี้มาใช้ในประเทศไทย จะช่วยสร้างสังคมที่มีความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
การร่วมมือในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนและเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง โดยจะมีโครงการความร่วมมือที่สำคัญหลายโครงการ หนึ่งในนั้นคือ การจัดตั้ง “ศูนย์ธุรกิจเพื่อสังคม” (social business center) ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ซึ่งมีเป้าหมายในการจัดกิจกรรมที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนการสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมไทย ภายใต้แนวคิด 3 zero (zero poverty, zero carbon emission, zero employment) โดยเน้น 4 โครงการสำคัญ ได้แก่
– การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business Development Projects) โดยมุ่งเน้นในกลุ่มชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน
– โครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะ (Training and Capacity Building Programs) เน้นการจัดฝึกอบรมและเวิร์คช็อปสำหรับผู้ประกอบการ นักศึกษา และบุคลากรในด้านนวัตกรรมสังคมและการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม
-โครงการวิจัยและนวัตกรรม (Research and Innovation Projects) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย รวมถึงการศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดจากทั่วโลก
– โครงการสร้างเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนความรู้ (Networking and Knowledge Exchange Initiatives) ทั้งระหว่างองค์กรในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
“โครงการเหล่านี้จะเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับสังคมไทย ผ่านความร่วมมือที่มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกันในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมที่มีผลกระทบเชิงบวกอย่างยั่งยืน” รศ.ดร.อุ่นเรือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวในที่สุด
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้