รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือกับ Global Consortium of Entrepreneurship Centers (GCEC) ร่วมเป็นเจ้าภาพ “GCEC NEW FRONTIER: BANGKOK SUMMIT 2024” การประชุมสุดยอดครั้งแรกของ GCEC ในเอเชีย เป็นกิจกรรมหลักของสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship 2024 (Sasin IEW) โดยได้รับเกียรติจากทีมผู้บริหารศศินทร์และ GCEC รวมถึงผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงานและต้อนรับ จากนั้นเป็นการปาฐกถาพิเศษและเสวนาเรื่อง “Driving Inclusive Entrepreneurship Ecosystems for Impact: Journey for Success” เมื่อเร็วๆนี้
ม.ล. ดิศปนัดดา ดิศกุล ซีอีโอของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงและนายกสมาคมนิสิตศิษย์เก่าศศินทร์ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการเพื่อสังคม” โดยเล่าถึงการทำงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในฐานะผู้บุกเบิกโครงการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนมากมายทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย อัฟกานิสถาน และเมียนมาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการดอยตุงที่พลิกฟื้นชุมชนที่ครั้งหนึ่งต้องพึ่งพาการปลูกฝิ่นให้หันมาปลูกป่าและพืชทางเลือก เช่น กาแฟ นำไปสู่การต่อยอดธุรกิจในภาคส่วนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ร้านกาแฟ การท่องเที่ยว หัตถกรรม พืชสวน จนกระทั่งการร่วมมือกับแบรนด์ระดับโลก เช่น Ikea และ Japan Airlines ความสำเร็จเหล่านี้ย้ำชัดว่า ความร่วมมือคือหัวใจของมูลนิธิ และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ เช่น ผ้าทอมือจากขวดพลาสติก PET รีไซเคิล ก็แสดงให้เห็นความตั้งใจจริงของมูลนิธิที่จะสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน
“เรามีเทคโนโลยีและความรู้ที่จะแก้วิกฤต แต่สิ่งที่เรายังขาดคือความมุ่งมั่นในระดับโลกที่จะลงมือทำ แม้ว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมจะมีบทบาทสำคัญ แต่ก็ยังถือเป็นธุรกิจกลุ่มเล็กเท่านั้น โจทย์ในตอนนี้คือจะทำอย่างไรให้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่สนใจที่จะบูรณาการแนวปฏิบัติที่ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกเข้าไปการทำธุรกิจของพวกเขา เรามุ่งมั่นที่จะแสดงให้ผู้คนเห็นว่าธุรกิจสามารถเปลี่ยนโลกได้ โดยกระตุ้นให้บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่แค่ไหนประเทศไทยน้อมนำหลักการเรื่องความยั่งยืนไปใช้” ม.ล. ดิศปนัดดา ดิศกุล กล่าว
คุณมีชัย วีระไวทยะ อดีตนักการเมือง นักขับเคลื่อนสังคม และผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และ โรงเรียนมีชัยพัฒนา (Bamboo School) ได้เล่าเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวข้องการขับเคลื่อนการวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน นับตั้งแต่ปี 2518 สมาคมได้ระดมทุนและลงทุนพัฒนาธุรกิจที่ส่งเสริมการพัฒนาชนบทโดยไม่มีการแบ่งผลกำไรกลับคืนแก่ผู้ถือหุ้น แต่นำผลกำไรไปลงทุนในการศึกษา การอนุรักษ์ การดํารงชีวิต และกิจกรรมการกุศล สิ่งที่น่าสนใจคือสมาคมดึงดูดนักลงทุนอย่างไรทั้งที่ไม่กำไรเป็นสิ่งจูงใจ สมาคมจะรับประกันกับผู้ลงทุนว่าเงินทุนจะผลิดอกออกผลแน่นอน กล่าวคือสมาคมจะปลูกต้นไม้เพื่อตอบแทนการลงทุนทุกๆ 100 บาท ในปัจจุบัน วิสาหกิจเพื่อสังคมของสมาคมเช่น ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านขายผลิตผลในท้องถิ่น โรงแรม รีสอร์ท และการมอบทุนการศึกษา ล้วนช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน
คุณมีชัย ได้เน้นย้ำถึงการจัดตั้งโรงเรียนมีชัยพัฒนา (Bamboo School) ซึ่งอุทิศตนเพื่อฝึกอบรมผู้ประกอบการทางสังคมและผู้นําการพัฒนาชุมชนรุ่นใหม่และอนาคต โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อสังคมรุ่นใหม่ โรงเรียนมีชัยพัฒนา ไม่ได้เป็นเพียงโรงเรียนสําหรับนักเรียน แต่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนทั้งหมดซึ่งผู้ปกครองจ่ายค่าเล่าเรียนของเด็กด้วยการปลูกต้นไม้และนักเรียนดูแลทรัพย์สินและการเงินของโรงเรียนตลอดจนสัมภาษณ์ผู้สมัครเพื่อจ้างครูและตําแหน่งอาจารย์ใหญ่
ศ.ดร.เอียน เฟนวิค (Prof. Ian Fenwick, Ph.D.) ผู้อำนวยการศศินทร์ เน้นย้ำถึงพันธกิจของศศินทร์ในการสร้างแรงบันดาลใจ เชื่อมต่อ และเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่ดีขึ้น อัจฉริยะขึ้น และยั่งยืน ย้อนกลับไปเมื่อกว่าสี่ทศวรรษ ศศินทร์ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Kellogg School of Management และ The Wharton School ศศินทร์เป็นสถาบันสอนธุรกิจแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานระดับสากลจาก AACSB และ EQUIS ปัจจุบันศศินทร์ยังคงขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
“โลกทุกวันนี้มีสิ่งให้เราเรียนรู้ได้ไม่มีวันหมด และต่อให้คุณจะเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับโลกในวันนี้ได้ทั้งหมด พอถึงวันพรุ่งนี้ ความรู้เหล่านั้นก็จะล้าสมัยเสียแล้ว สิ่งที่เราต้องทำคือการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงพวกเขากับคนที่มีความคิดเหมือนกันเพื่อสร้างพลังในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เปลี่ยนแปลงโลก และเปลี่ยนแปลงสังคม และองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือทักษะการเป็นผู้ประกอบการ” ศ.ดร.เอียน กล่าว
คุณดิเบียนดู โบส (Dibyendu Bose) รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและการพัฒนาของศศินทร์ กล่าวถึงเป้าหมายของสัปดาห์ Sasin IEW ในการส่งเสริมนวัตกรรม การเปิดกว้าง และการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก “เรากำลังสร้างศูนย์กลาง แพลตฟอร์ม และระบบนิเวศที่คึกคักที่ซึ่งผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ นักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย และแม้แต่คนทั่วไปสามารถมารวมตัวกันเพื่อจุดประกายนวัตกรรม สร้างสังคมที่เปิดกว้าง และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เราได้จัดกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นมากมายใน Sasin IEW รวมถึงการประชุมสุดยอด GCEC NEW FRONTIER: BANGKOK SUMMIT 2024 ที่จะมาเจาะลึกว่าทักษะการเป็นประกอบการนั้นช่วยเสริมพลังให้สังคมและธุรกิจได้อย่างไร”
คุณดิเบียนดู ปิดท้ายด้วยการกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุน ได้แก่ สมาคมส่งเสริมจริยธรรมและธรรมาภิบาลไทย ธนาคารกสิกรไทย จำกัดมหาชน โรงแรมชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ โคคาโคลา ไทยน้ำทิพย์ กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เดอะเกรทรูม ยิปอินซอย เซนทิเนล โซลูชั่น ไทยแลนด์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณลาร์ส สเวนสัน (Lars Svensson) ผู้บริหารศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการแห่งศศินทร์ กล่าวว่าวันเปิดการประชุมนี้ตรงกับวันครีษมายัน หรือ summer solstice ซึ่งเป็นวันที่มีเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี และยังเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองกลางฤดูร้อนในประเทศสวีเดนด้วย
“เรามารวมตัวกันที่นี่เพื่อทำให้ความร่วมมือของเรางอกงาม เพื่อฉลองให้กับแสงสว่างของการคิดบวก เพื่อการขยายเครือข่ายของเรา และเพื่อความรักและความเชื่ออันแรงกล้าว่าการเป็นผู้ประกอบการที่เปิดกว้างสามารถขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวกได้จริงๆ” คุณลาร์ส กล่าว
คุณฮอลลี่ เดออาร์มอนด์ (Holly DeArmond) กรรมการบริหาร Global Consortium of Entrepreneurship Centres (GCEC) แสดงความชื่นชมกรุงเทพฯ ในฐานะสถานที่จัดประชุมสุดยอดแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ GCEC ว่าเป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา งดงามด้วยวัฒนธรรม และน่ารื่นรมย์ด้วยอาหารเลิศรส ซึ่งสร้างความประทับใจให้ผู้ร่วมงานที่ได้สัมผัสประเทศไทยเป็นครั้งแรก เธอกล่าวถึงการขยายตัวของ GCEC ในระดับโลก ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 650 คนจากกว่า 360 สถาบันทั่วโลก
“การประชุมครั้งนี้เป็นการขยายฐานสมาชิกของเราให้ครอบคลุมนอกภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกถือเป็นสิ่งสำคัญต่อกลยุทธ์การเติบโตของเรา และการประชุมสุดยอดครั้งนี้ก็ช่วยให้ได้แนะนำ GCEC ให้ตลาดใหม่ๆ ได้รู้จัก” คุณฮอลลี่กล่าว
คุณโลริ แวน แดม (Lori van Dam) ซีอีโอของ Hult Prize Foundation กล่าวถึงความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 ที่ว่าด้วย “Partnerships” หรือ “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” และบทบาทของการประชุมสุดยอดในการบ่มเพาะระบบนิเวศระดับโลกสำหรับผู้ประกอบการทางสังคม คุณโลริเน้นย้ำถึงบทบาทในการเตรียมผู้นำรุ่นเยาว์ให้มีทักษะที่จำเป็นและสร้างเครือข่ายตลอดชีวิต โดยชื่นชอบ SDG ข้อ 17 มากที่พูดถึงความร่วมมือเพื่อพิชิตเป้าหมายด้านความยั่งยืน ทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้กำลังสร้างระบบนิเวศที่แข็งแกร่งกว่าเดิมเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการทางสังคมในชุมชนของคุณ การรวมตัวเพื่อเรียนรู้จากกันและกันถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่เข้มแข็งสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นนักศึกษาของเราทุกคน
ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นย้ำว่าใจกลางของความเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือความเปิดกว้าง ซึ่งมีต้นกำเนิดจากวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านการศึกษาที่เท่าเทียม จุฬาลงกรณ์เป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ตรัสไว้เมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนว่าราษฎรทั้งปวงของพระองค์ ตั้งแต่พระราชโอรสและธิดาจนถึงสามัญชน และคนชั้นล่างที่สุด ต้องมีโอกาสได้เรียนหนังสือเหมือนกัน ชาวไทยเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสุดซึ้งจึงได้ช่วยกันลงขัน ได้เงินจำนวนกว่าเจ็ดแสนบาทในขณะนั้นเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ เงินที่เหลือได้นำไปใช้สร้างมหาวิทยาลัยบนที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานบริจาค ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นเพียงสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางของความหลากหลายอันเป็นหัวใจของผู้ประกอบการ
อีกหนึ่งกิจกรรมในวันเปิดงานคือวงเสวนาเรื่อง “Driving Inclusive Entrepreneurship Ecosystems for Impact: Journey for Success” ซึ่งสะท้อนภาพของความร่วมมือแบบสหสาขาวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบการไทย ผู้อภิปรายทั้งห้าท่านสนับสนุนให้มีการปรับปรุงระบบราชการเพื่อยกระดับสตาร์ทอัพ ส่งเสริมนวัตกรรม และก้าวข้ามความท้าทายด้านเงินทุนและประชากร
ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ซีอีโอ ของ KX Knowledge Exchange กล่าวถึงการเชื่อมต่ออุตสาหกรรมเข้ากับวิชาการเพื่อสร้างสตาร์ทอัพด้าน Deep Tech
สลักจิต มั่นธรรมรักษา หัวหน้าภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของ ANDE เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างแนวร่วม ตั้งแต่ผู้ให้บริการด้านการสร้างขีดความสามารถไปจนถึงนักลงทุนและสถาบันการศึกษาเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรได้
ณฐกร อสุนี ณ อยุธยา ผู้จัดการทั่วไปของ Social Enterprise Thailand กล่าวถึงภาพรวมของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยบริษัทขนาดใหญ่สนใจธุรกิจด้านนี้เพื่อนำมาขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวกและรับมือกับความท้าทายระดับโลก
รศ. ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงความพยายามของรัฐบาลในการส่งเสริมเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรมเพื่อรับมือความท้าทายด้านเงินทุนและประชากร
รศ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาฯ และรักษาการแทนประธานศูนย์นวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ความจำเป็นในการลดขั้นตอนทางราชการที่ซับซ้อนให้เรียบง่ายด้วยการประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อยกระดับสตาร์ทอัพไทย และสร้างความคล่องตัวให้ภาครัฐสามารถแก้ปัญหาให้ผู้ประกอบการ
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สรุปวงเสวนาด้วยการเล่าถึงการทำงานของศูนย์นวัติกรรมแห่งชาติที่สนับสนุนผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย ในแต่ละปี ศูนย์ฯ เปิดพื้นที่ให้ทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยกว่า 250 ทีมได้พบปะกับนักลงทุนและผู้ผลักดันการขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศไทย เป็นเวลาเกือบเก้าปีที่ศูนย์ฯ ทุ่มเทพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพให้มีพลังด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและพันธมิตรระดับโลกไปจนถึงการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในด้านการศึกษา การท่องเที่ยว ฟินเทค สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ และ deep tech
การประชุมสุดยอด GCEC NEW FRONTIER: BANGKOK SUMMIT 2024 ปิดงานด้วยการเสวนาเรื่อง “Redefining Values for Impact Entrepreneurship with the Self-Sufficient Philosophy (SEP)” นอกจากนี้ได้จัดเตรียมกิจกรรมที่กระตุ้นความคิดและแรงบันดาลใจมากมาย พร้อมโอกาสในการสร้างเครือข่ายที่หาไม่ได้จากที่อื่น นอกจากนี้ยังมี Workshop ด้านวัฒนธรรมและมื้อเย็นสุดพิเศษบนเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยา การประชุมครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักสามอย่างของสัปดาห์ Sasin IEW 2024 ควบคู่ไปกับการแข่งขัน Bangkok Business Challenge (BBC) และ Family Enterprise Case Competition – Asia Pacific 2024 (FECC-AP)
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้