รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 กรกฎาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผลงานความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยสถาบันชั้นนำในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ทั้ง Times Higher Education (THE) และ QS ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย และติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีการจัดกิจกรรมสำคัญในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นการจัดปาฐกถาพิเศษโดยผู้นำระดับโลก พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ได้ประมวลข่าวเด่นและกิจกรรมสำคัญในรั้วจามจุรี เผยแพร่ใน CU Top 10 News ดังนี้
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธานในพิธีลงนาม MOU วิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567 ณ วังสระปทุม เพื่อร่วมกันพัฒนางานวิจัยทางฟิสิกส์อนุภาคที่มีศักยภาพสูง สร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก ทั้งนี้มีสถาบันการศึกษาอื่นๆ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อ่านเพิ่มเติม
จุฬาฯ เรียนเชิญนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏานปาฐกถาพิเศษที่จุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Enlightened Leadership” โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ดาโช เชริง โตบเกย์ (Hon’ble Dasho Tshering Tobgay) นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏานเป็นองค์ปาฐก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ การปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้เป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานของทั้งสองราชอาณาจักรผ่านมิติการศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ โดยมีสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยราชการอื่น ๆ อ่านเพิ่มเติม
พิธีส่งมอบการบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิธีส่งมอบการบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโอกาสที่ทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่ครบวาระที่ 2 ในการบริหารงาน และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยชุดใหม่นำโดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดี เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 18 พฤษภาคม 2567 พิธีส่งมอบการบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นภายหลังการประชุมคณบดี ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 โดยมีทีมผู้บริหารจุฬาฯ ชุดปัจจุบันและทีมผู้รักษาการองอธิการบดีร่วมเป็นสักขีพยาน อ่านเพิ่มเติม
นายกสภามหาวิทยาลัยพบผู้บริหารจุฬาฯ แนะแนวทางนำมหาวิทยาลัยสู่ AI การเชื่อมโยงสังคม ความเป็นนานาชาติและความยั่งยืน
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาพบคณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่ประชุมผู้บริหารมหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ มอบของที่ระลึกและกล่าวขอบคุณนายกสภามหาวิทยาลัย ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่าพร้อมสนับสนุนนโยบายการเป็นผู้นำของมหาวิทยาลัย และให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่เชื่อมโยงทั่วถึงทุกกลุ่ม ส่งเสริมนโยบายของจุฬาฯ ในเรื่อง AI นอกจากนี้ยังแนะให้มุ่งเน้นในเรื่องจุฬาฯ กับความยั่งยืน (Sustainability) ด้วยการเสริมพันธกิจสร้างความสัมพันธ์ระหว่างจุฬาฯ กับสังคม (Social engagement) ในภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนในเรื่องความเป็นนานาชาติ อ่านเพิ่มเติม
พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และปี 2566
เมื่อวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2565 และ 2566 เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี มีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จำนวนทั้งสิ้น 163 ราย แบ่งออกเป็น ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก จำนวน 28 ราย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ จำนวน 18 ราย ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก จำนวน 23 ราย และชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย จำนวน 94 ราย อ่านเพิ่มเติม
จุฬาฯ โดดเด่นติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ปี 2024 และ 2025
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกประจำปี 2024 โดยหน่วยงานที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ Times Higher Education (THE) และ QS จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย และเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก นำความภาคภูมิใจมาสู่ประเทศไทย ดังนี้
– จุฬาฯ ติด Top 50 ของโลก “มหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืน” THE Impact Rankings 2024 และเป็นที่ 1 ของไทยในด้านการพัฒนานวัตกรรม อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน
https://www.chula.ac.th/news/167510/
– จุฬาฯ โดดเด่นครองที่ 1 มหาวิทยาลัยไทยและเป็นหนึ่งเดียวของไทยใน Top 100 ของโลกด้านชื่อเสียงทางวิชาการและผลลัพธ์จากการจ้างงานใน QS World University Rankings 2025
https://www.chula.ac.th/news/164045/
– จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2024
https://www.chula.ac.th/news/157401/
– จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย 32 สาขา การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
https://www.chula.ac.th/news/154857/
จุฬาฯ เดินหน้าปักธง AI University
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็น AI University ด้วยการตั้ง Chulalongkorn AI Institute หรือสถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาฯ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้ตอบสนองความต้องการของสังคมและอุตสาหกรรม จุดเด่นของการตั้งสถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาฯ คือการมุ่งเน้นกลไกที่ตอบโจทย์ท้องถิ่นในมาตรฐานนานาชาติ และสนับสนุนให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา AI ทั้งนี้เพื่อให้จุฬาฯ เป็น AI University ที่มีความเชี่ยวชาญสูงและสามารถตอบโจทย์สังคม และตอกย้ำการเป็น AI Hub ของภูมิภาคอาเซียน อ่านเพิ่มเติม
หลักสูตรเวฬา 2 สำหรับผู้บริหารองค์กรด้านสุขภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ดีกรีพลัส จำกัด จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรสุขภาพระยะสั้นสำหรับผู้บริหารองค์กรด้านสุขภาพและการแพทย์ หลักสูตร “Vitality Enhancement and Longevity Academy (VELA)” รุ่นที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการ หรือบุคลากรในระดับบริหารขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและบริการด้านสุขภาพ โดยได้จัดงานปาฐกถาเกียรติยศเวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมจุฬาฯ หลักสูตรเวฬา รุ่นที่ 2 มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมจำนวน 99 คน จัดอบรมทุกวันพุธ ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567 เป็นระยะเวลา 4 เดือน อ่านเพิ่มเติม
นวัตกรรมจุฬาฯ คว้ารางวัลจาก ITEX 2024
นวัตกรรมจากจุฬาฯ คว้า 3 เหรียญทอง และรางวัลพิเศษ 1 รางวัลจากงาน ITEX 2024 เมื่อวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2567 ณ Kuala Lumpur Convention Centre สหพันธรัฐมาเลเซีย สร้างความภาคภูมิใจให้กับมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ของนักวิจัยไทยในเวทีนานาชาตินวัตกรรมที่ได้รับรางวัลได้แก่ เจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติกเพื่อใช้ทาลบเลือนรอยแผลเป็น จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ การจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศโกโก้ จากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ และเส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง พร้อมทาน จากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ อ่านเพิ่มเติม
จุฬาฯ สนับสนุนการจัดงาน Bangkok Pride Festival 2024
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดพื้นที่ให้การสนับสนุนการจัดงาน Bangkok Pride Festival 2024 เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมในสังคม โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เน้นการเฉลิมฉลองและการยอมรับในความหลากหลายทางเพศและวัฒนธรรม นอกเหนือจากการให้การสนับสนุนพื้นที่ในการจัดกิจกรรมแล้ว จุฬาฯ ยังให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมและความหลากหลายสะท้อนผ่านนิสิตและบุคลากรของจุฬาฯ ที่มีสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย ลดการกีดกันต่าง ๆ พร้อมความช่วยเหลือ มีการสื่อสาร พูดคุยให้คำปรึกษา สิ่งเหล่านี้เติบโตไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย อ่านเพิ่มเติม
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้