ข่าวสารจุฬาฯ

คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” สำรวจและรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

              คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง “รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullyingเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้อเนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อเผยแพร่ผลการสำรวจและบทวิเคราะห์จากโครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” ซึ่งคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินโครงการ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และ ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน


 ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร
ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ

              ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะให้ข้อมูล ความรู้ ที่จะเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของคนไทยอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา ปัญหาของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ เป็นปัญหาที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจต่อบุคคลได้อย่างมาก ทั้งผู้ถูกกระทำ ผู้กระทำ รวมไปถึงผู้เห็นเหตุการณ์ด้วย คณะจิตวิทยาได้ศึกษาวิจัยโดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคมไทย และยังเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มุ่งเป็นผู้นำการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการเสวนาครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์และความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มที่ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้


ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม
รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

              ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยว่า ยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมการเสวนาวิชาการที่จัดโดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โครงการนี้ได้มีการจัดทำคลิปวิดีโอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Cyberbullying และการเสวนาวิชาการออนไลน์ รวมถึงการศึกษาวิจัยความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย การเสวนาครั้งนี้เป็นบทสรุปของการวิจัยดังกล่าวที่จะเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบและสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ผมเชื่อมั่นว่าผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้รับข้อมูลและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา Cyberbullying อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์


ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์
หัวหน้าโครงการฯ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ  

              ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ หัวหน้าโครงการฯ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ  กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จัก เข้าใจ Cyberbullying” ที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการสำรวจความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย เพื่อผลิตผลงานสื่อให้ความรู้และสื่อสร้างสรรค์ในเรื่องการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์หรือ Cyberbullying รวมถึงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางในการรับมือ Cyberbullying ในมิติของการดูแลสุขภาพจิต การเสวนานี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในเรื่อง Cyberbullying และข้อคิดเห็นต่างๆ ให้บุคคลในสังคมได้เกิดความตระหนักรู้ รวมทั้งให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแนวทางการดูแลจิตใจหลังจากถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไป




              ในงานมีการเสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ ร่วมแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางในการรับมือกับปัญหา Cyberbullying ประกอบด้วย

  • คุณณัญช์ภัคร์ พูลสวัสดิ์ ผู้จัดการแผนก/บรรณาธิการ/โปรดิวเซอร์ รายการครอบครัวบันเทิง – เรื่องเล่าเช้านี้ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
  • คุณกวิสรา สิงห์ปลอด ศิลปินอิสระ และ Influencer
  • ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ หัวหน้าโครงการฯ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ  
  • ผศ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ รองหัวหน้าโครงการฯ รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และอาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาฯ

              ดำเนินรายการโดย คุณรวีโรจน์ เลิศพิภพเมธา DJ คลื่น Eazy fm102.5

              

              คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินโครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” โดยมี ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ และ ผศ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็นรองหัวหน้าโครงการฯ จุดมุ่งหมายของโครงการมุ่งสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในกลุ่มประชากรไทยที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทุกกลุ่มอายุ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการป้องกันปัญหาดังกล่าวในสังคมไทย โครงการนี้จะทำการสำรวจพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ และนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ในมุมมองของนักจิตวิทยา เพื่อนำเสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ และงานเสวนา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหานี้และสามารถหยุดพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง รวมทั้งยังให้ข้อมูลและแนวทางการดูแลจิตใจของเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

              ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย ได้ที่  https://bit.ly/45UxJ4F

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า