รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 1 หัวข้อ “Leadership in a disruptive world: พร้อมเป็นผู้นำบนโลกแห่งความไม่แน่นอน” ในวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 ณ Next Tech ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดงาน คุณณัฐวุฒิ เกียรติไชยากร Chief Business Resources บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เป็นผู้กล่าวต้อนรับ
การบรรยายครั้งสำคัญนี้ได้รับเกียรติจาก Prof. Dr. Michelle Bligh, Executive Vice President and Provost จาก Claremont Graduate University, California, USA บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Leadership in a Disruptive World: พร้อมเป็นผู้นำบนโลกแห่งความไม่แน่นอน” โดย คุณอัมพร โชติรัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ได้ร่วมในงานนี้ด้วย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับผู้มาร่วมงานและกล่าวถึงแนวทางที่จุฬาฯ กำลังปรับบทบาทสู่โลกอนาคตว่า การดึงผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาบรรยายจะเป็นการแบ่งปันความรู้และสร้างแรงบันดาลใจที่มีคุณค่าให้กับคนไทยไม่เฉพาะนิสิตนักศึกษาเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือด้วย กิจกรรม “Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers” โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและนานาชาติมาเป็นแขกคนสำคัญ เป็นการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทย สำหรับหัวข้อในการจัดงาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 1 คือ “การเป็นผู้นำในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” มีความสำคัญอย่างยิ่งในขณะที่เรากำลังผ่านยุคที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน
ศ.ดร.วิเลิศกล่าวว่า จุฬาฯ ไม่ได้สร้างนิสิตเป็นผู้นําเพียงเดียว แต่เราต้องการสร้างให้คนไทยเป็นผู้นํา บทบาทมหาวิทยาลัยไม่ได้จํากัดเรื่องของการศึกษาและการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอีกต่อไป จุฬาฯ จะเป็นพื้นที่ให้ความคิด ภูมิปัญญาสำหรับทุกคนในประเทศไทย หน้าที่ของเราในการสร้างผู้นํา ไม่ได้เป็นผู้นําแค่ในประเทศ แต่อยากให้บุคลากรของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นในบริษัทเอกชน หรือองค์กรภาครัฐเป็นผู้นําข้ามชาติ อยากเห็นประเทศไทยเป็นผู้นําทางด้านการศึกษา การทำให้เกิดผู้นำตามเป้าประสงค์ เครื่องมือหนึ่งคือ “Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers” ซึ่งไม่ได้เป็นแค่การจัดทอล์กแต่จัดขึ้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนรู้สึกว่าเราสามารถทําได้มากกว่านี้ และเราเป็นนักสร้างได้
“ถ้าเราไปนั่งเรียนนั่งอ่านในเอกสารเดิม ๆ ความรู้อาจล้าสมัยได้ แต่การทำกิจกรรมบรรยายสดเช่นนี้จะทำให้ความรู้ไม่ล้าสมัย” ขณะเดียวกันจุฬาฯ จะนำเนื้อหาเผยแพร่ในทุกๆ ช่องทางโซเชียลมีเดีย ทั้งยูทูป หรือ พอดแคสต์ เพื่อให้เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้” ศ.ดร.วิเลิศกล่าว
Prof. Dr. Michelle Bligh มีความเชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำ มีผลงานวิจัยมากมายเป็นที่ยอมรับ ในแวดวงนักวิชาการด้าน Leadership นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ในการบริหารมหาวิทยาลัยในหลากหลายบทบาท Prof. Michelle ได้นำแนวคิด ข้อมูล และงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับความเป็นผู้นำมาแบ่งปันและชวนให้ผู้ฟังวิเคราะห์ทบทวนประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ผู้นำในโลกยุคใหม่ต้องเผชิญ พร้อมแนวทางการรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน
สำหรับการบรรยายโดย Prof. Dr. Michelle Bligh นั้น เนื้อหานำสู่ความกระจ่างถึงคำว่าผู้นำและผู้ตามได้อย่างดี โดยในโลกยุคปัจจุบันความต้องการความเป็นผู้นํามีมากขึ้นกว่าเดิม แต่น่าเสียดายที่สังคมฝึกอบรมและพัฒนาผู้ตามได้ดีกว่าตั้งแต่ตอนที่เรายังเป็นเด็กเล็ก ๆ ต่างได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้ตามมากกว่า แต่ความท้าทายคือโลกในปัจจุบันต้องการผู้นํามากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่เราไม่ได้เตรียมพร้อมสําหรับการเป็นผู้นำ เราเดิมพันไว้กับเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหนือความสามารถและความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ขณะที่ AI ก็ไม่สามารถแทนที่มนุษย์ได้ ดังนั้นสถาบันการศึกษาจะต้องสร้างตัวเองใหม่ เพื่อค้นหาและสนับสนุนผู้เรียนตลอดชีวิตไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหน และตอบสนองต่อความรู้ที่เขาต้องการ
ส่วนภาวะผู้นำนั้นหมายถึงความสามารถ แรงจูงใจ และความต้องการที่จะมีอิทธิพลต่อผู้อื่น ซึ่งถือเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาระดับสูงจำเป็นต้องทำงานให้ดีขึ้นในการสอนและเตรียมความพร้อมภาวะผู้นำ และใช้ AI ให้เป็นผู้ช่วยในการพัฒนาทักษะ กลยุทธ์ และเคล็ดลับบางประการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนั้นเราต้องช่วยกันส่งเสริมภาวะผู้นำที่แท้จริง ที่มีทั้งจริยธรรม ความอดทน ความเมตตา และการดูแล
งาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจแก่นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญและบุคคลสำคัญระดับโลกมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการเรียนรู้ การจัดงานดังกล่าวยังเป็นการส่งเสริมความเป็นสากลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยและโครงการต่างๆ ร่วมกันในอนาคต
ข้อมูลเกี่ยวกับ Claremont Graduate University
Claremont Graduate University (CGU) ตั้งอยู่ในเมือง Claremont มลรัฐ California สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี 1925 เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม Claremont Colleges ซึ่งประกอบด้วยสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาอีกหลายแห่ง
หนึ่งในคณาจารย์ Prof. Peter Drucker ที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดทางการจัดการสมัยใหม่ โดยได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการจัดการสมัยใหม่” เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดการจัดการโดยมีวัตถุประสงค์ (Management by Objectives) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยด้านการจัดการของ CGU
นอกจากนี้ CGU ยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะ “Home of Positive Psychology” หรือบ้านของจิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เน้นการศึกษาความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมีนักวิชาการหลายท่าน เช่น Mihaly Csikszentmihalyi และ Jeanne Nakamura ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาแนวคิดนี้
ทั้งนี้ ศิษย์เก่าของ CGU ที่มีชื่อเสียงในสังคมไทย อาทิ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เสนาดีเวลลอปเมนท์ (SENA) เป็นต้น
สามารถชมการบรรยายในงาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 1 หัวข้อ “Leadership in a disruptive world: พร้อมเป็นผู้นำบนโลกแห่งความไม่แน่นอน”ย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/tgs_iCBEDz/
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้