ข่าวสารจุฬาฯ

MMS4 “แนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัย”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุม 801 อาคารจามจุรี 10 สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดอบรม “โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน (Multi Mentoring System)” ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “แนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัย” โดยมี ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
การอบรมครั้งนี้มีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ “การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (ภายในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย)” โดย ศ.น.สพ.ดร.มงคล เตชะกำพุ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และ ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. “การใช้ประโยชน์วิจัยเชิงสังคม ชุมชน และเชิงนโยบาย” โดย ศ.ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ หัวหน้าศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจาก ชีวมวล คณะวิทยาศาสตร์ ศ.ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา “งานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การทำวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม” โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และ รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรในระดับวิจัยและนวัตกรรม สกว.
โครงการ “การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System” ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อยกระดับและสร้างกลไกการพัฒนาศักยภาพในการวิจัย กระตุ้นและผลักดันให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีแนวคิดการดำเนินงานวิจัย ได้เรียนรู้และเพิ่มทักษะของการเป็นนักวิจัยมืออาชีพจากนักวิจัยพี่เลี้ยง (mentors) และได้รับการเกื้อหนุนติดตามจากโค้ชในแต่ละสาขาหรือมหาวิทยาลัย รวมถึงหัวหน้าทีมโค้ช (head coach) ในแต่ละภาคพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของการทำงานวิจัยแบบบูรณาการผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายวิจัย การประชุมและเวทีเสวนา และสามารถยกระดับคุณภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ได้ในอนาคต
โครงการนี้ได้จัดอบรมมาแล้ว 3 ครั้ง สามารถติดตามการอบรมได้ที่
https://www.research.chula.ac.th/multi-mentoring-system-1/
https://www.research.chula.ac.th/multi-mentoring-system-v-2/ https://www.research.chula.ac.th/multi-mentoring-system-v-3/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า