รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมพัฒนา DeepGI นวัตกรรม AI ใช้ในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และระบบทางเดินอาหาร เพื่อตรวจมะเร็งได้ผลแม่นยำ ใช้งานจริงแล้วที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลงานสร้างชื่อเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติในการประชุมของแพทย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารนานาชาติ ENDO 2024 ที่ประเทศเกาหลีใต้
ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านนวัตกรรม จุฬาฯ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จากการประชุมของแพทย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารนานาชาติ ENDO 2024 เมื่อเร็วๆ นี้ที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งจัดโดย the World Endoscopy Organization (WEO) ร่วมด้วย the Korean Society of Gastrointestinal Endoscopy ( KSGE) มีผู้เข้าร่วมประชุม 3,200 คน โดยมีการถ่ายทอดสัญญาณสดจากโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้รับชมการส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร
สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งในสามของศูนย์ส่องกล้องจากทั่วโลกให้ทำการส่องกล้องแบบ live transmission ไปยังผู้เข้าร่วมประชุม ENDO 2024 โดยได้นำเสนอการส่องกล้องในผู้ป่วย 4 ราย ซึ่ง 1 ใน 4 รายเป็นการนำเสนอการส่องกล้องโดยการใช้เทคโนโลยี DeepGI ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์โดย ความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยแพทย์ในการตรวจหาเยื่อบุกระเพาะอาหารที่ผิดปกติก่อนเป็นมะเร็ง
ศ.นพ.รังสรรค์กล่าวว่า การส่องกล้องด้วยเทคโนโลยี DeepGI จากสาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากผู้ชมในการประชุม ENDO 2024 มีผู้ร่วมงานสนใจจะร่วมทำงานวิจัยกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมนี้ให้เกิดการต่อยอดในต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจุบันมีประเทศอินเดียและอิตาลีให้ความสนใจเทคโนโลยีดังกล่าว
AI ตรวจจับความผิดปกติในทางเดินอาหาร (DeepGI – Deep Technology for Gastrointestinal Tracts) เป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล และ ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศ.นพ.รังสรรค์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และทีมวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท อีเอสเอ็ม โซลูชั่น จำกัด ในการร่วมสนับสนุนนวัตกรรม และเป็นตัวแทนจำหน่าย DeepGI ซึ่งปัจจุบันได้ให้บริการตรวจคนไข้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และทดสอบใช้งานในโรงพยาบาลหลายแห่ง
ปัจจุบันวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ คือการส่องกล้องผ่านช่องทวารหนัก (ตรวจลำไส้ใหญ่) หรือระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย ซึ่งการตรวจจับความผิดปกติค่อนข้างมีความท้าทายมาก เนื่องจากลักษณะของติ่งเนื้อมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น แบบที่นูน และแบบที่แบนราบไปกับผนังลำไส้ อีกทั้งอาจจะมีขนาดที่เล็ก และสีที่กลมกลืนไปกับบริเวณโดยรอบ จึงทำให้การตรวจวินิจฉัยผิดพลาดได้ง่ายหากแพทย์ขาดประสบการณ์หรืออุปกรณ์การแพทย์ไม่ครบเครื่อง จากสถิติพบว่าการตรวจอาจผิดพลาดได้ถึงร้อยละ 22
นวัตกรรม AI ตรวจจับความผิดปกติในทางเดินอาหาร DeepGI มีจุดเด่น 4 ประการ ได้แก่
รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าปัจจุบัน DeepGI ได้ขยายขีดความสามารถรองรับการตรวจจับความผิดปกติในกระเพาะอาหาร ที่เรียกว่า Gastrointestinal Metaplasia (GIM) ซึ่งเป็นระยะเริ่มแรกของการเป็นมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร โดยมะเร็งชนิดนี้เป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบได้บ่อยและมีอัตราการเกิดมากขึ้น สืบเนื่องจากพฤติกรรมการทานอาหาร นวัตกรรมนี้จะช่วยให้ทีมแพทย์ (AI-Assisted Solution) สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และลดความผิดพลาด เนื่องจาก DeepGI จะประมวลวิเคราะห์ภาพที่ได้จากวิดีโอระหว่างการส่องกล้อง แล้ววิเคราะห์ความผิดปกติด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยใช้เทคนิคเครื่องจักรเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ซึ่งโมเดลจะตีกรอบบริเวณที่มีความผิดปกติ แล้วแจ้งเตือนให้กับแพทย์แบบทันที (real-time) โดยมีความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 90 พร้อมให้การวินิจฉัย (characterization) ชนิดของติ่งเนื้อว่าเป็นชิ้นเนื้อที่เป็นอันตราย (Neoplastic) หรือไม่เป็นอันตราย (Hyperplastic) อย่างแม่นยำ ความสามารถด้านนี้จะช่วยเพิ่มให้แพทย์มีความมั่นใจในการวินิจฉัยโรคได้มากขึ้น จากผลการวิจัยพบว่า DeepGI สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาติ่งเนื้อถึง 16% การตรวจพบติ่งเนื้อเพิ่มขึ้น 1% และจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ถึง 3%
ทั้งนี้ “มะเร็งลำไส้ใหญ่” เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร หากตรวจพบโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นจะช่วยในการรักษาได้ทันท่วงที ช่วยลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้ได้
DeepGI มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีระดับ 5 (Technology Readiness Level 5, TRL5) และถูกทดสอบใช้งานจริงในหลายโรงพยาบาล มีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับคู่แข่งในท้องตลาด และสามารถตรวจจับความผิดปกติได้ทั้งในลำไส้ใหญ่ และในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้ป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคต DeepGI จะมีการขยายขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจหาความผิดปกติในท่อน้ำดี เป็นต้น
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมฟังการบรรยายพิเศษและการเสวนา ในงานครบรอบวัน อรุณ สรเทศน์ รำลึก ประจำปี 2568
22 มกราคม 2568 เวลา 08.30 น.
หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้