รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเชิญในฐานะผู็บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประชุม APRU Annual Presidents’ Meeting 2024 ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2567 ที่ University of Auckland ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Oceans – The World’s Challenges Divide Us, the Ocean Currents Connect Us” เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อมหาสมุทร รวมถึงผลกระทบต่อชุมชน ประชากร ความมั่นคงทางอาหารและน้ำ อนาคตที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน ตลอดจนสำรวจบทบาทของ APRU และมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก
การประชุมประจำปีของ APRU ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันในเรื่องความท้าทายที่ร่วมกันเผชิญและโอกาสในการร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ในเขตแปซิฟิกริม ทั้งนี้ การประชุม APRU Annual Presidents’ Meeting ในปีหน้า University of California, San Diego สหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพ
สมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก (Association of Pacific Rim Universities) หรือ APRU ก่อตั้งเมื่อปี 1997 จุดมุ่งหมายของ APRU เพื่อให้เกิดการส่งเสริมทางด้าน การศึกษา การวิจัย นำมาซึ่งการประยุกต์ใช้ให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมในภูมิภาครอบมหาสมุทรแปซิฟิก กิจกรรมหลักของ APRU มุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สตรีในตำแหน่งผู้นำ ความรู้ของชนพื้นเมือง การแลกเปลี่ยนนักศึกษาเสมือนจริง กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ การสูงวัยของประชากร สุขภาพโลก เมืองที่ยั่งยืน ปัญญาประดิษฐ์ การจัดการขยะ และอื่นๆ ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ที่เป็นสมาชิก APRU จำนวน 61 แห่ง โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียวที่เป็นสมาชิก APRU
จุฬาฯ ตรวจสุขภาพแรงงานฟรี เนื่องในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2568 ที่สยามสแควร์
1 พ.ค. 68 เวลา 08.00 -20.00 น.
สยามสแควร์
“MDCU MedUMORE” โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Winner “THE Awards Asia 2025” ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์ความรู้ฮาลาลในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. 1446
เชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับการเลือกตั้งเพิ่มเติม สมาชิกสภาคณาจารย์ พ.ศ. 2568
23 - 28 เมษายน 2568
เชิญร่วมสัมมนาวิชาการ “อุดมศึกษากับการพัฒนากำลังคนเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต”
25 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 16.30 น.
นิสิตนิติศาสตร์ จุฬาฯ สร้างชื่อเสียงในการแข่งขันว่าความกฎหมายระหว่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้