รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบอันโดดเด่นได้รับรางวัลจากสามเวทีการแข่งขันด้านการออกแบบระดับนานาชาติ 3 รายการ ดังนี้
– นายณัฐภัทร โชตนันทน์ นิสิตชั้นปีที่ 2 ได้รับรางวัลชนะเลิศ Buildner Student Award จากการแข่งขัน The Legendary Highway 14 Global Competition ที่เซาท์ดาโคตา สหรัฐอเมริกา จากโครงการ “Archiving Decay: Institutionalization of the Forgotten” ซึ่งนำเสนอ Landmark ใหม่สำหรับเมือง De Smet เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับภูมิทัศน์และประวัติศาสตร์ เป็นทั้งหอคอยชมวิวสำหรับระบบนิเวศ และอนุสรณ์สถานสำหรับเมือง
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.arch.chula.ac.th/web2017/index.php?view=eventInfo&id=864
– นางสาวนาดา เรืองจินดา นิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรนานาชาติ (INDA) คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 การแข่งขัน the 12th Asian Contest of Architectural Rookie’s Award (ACARA 2023) จัดโดยสมาคมสถาปนิกแห่งเอเชีย (the Asia United Architecture Association : AUA) ภายใต้แนวคิด “Naturally Circular” มีเป้าหมายมุ่งส่งเสริมการศึกษาด้านสถาปัตยกรรมโดยการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และความเป็นมิตร
ผลงานที่ได้รับรางวัลมีชื่อว่า “Prairie Motion” ซึ่งเป็นหอชมวิวที่นำเสนอประสบการณ์ผสมผสานระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ ใช้วัสดุชีวภาพ เช่น ไบโอพลาสติกสำหรับเปลือกหุ้มที่ละลายได้ การออกแบบเน้นการปรับตัวของมนุษย์และสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อม
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.arch.chula.ac.th/web2017/index.php?view=eventInfo&id=866
– นายอนันตสิทธิ์ เตชะรัตนศิริกุล นางสาวจิดาภา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสาวณิชมน แย้มแก่นจันทน์ และนางสาวรักษิตา จิณบุตร นิสิตภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศ Game/Toy Design Winners การประกวด D’source DIC-BHU SDGs Design Challenge B (DDSDC-B) , Design Challenge: Card/Board Game or a Toy based on addressing issues concerning any of the latter 8 SDGs จัดโดย IDC School of Design, Indian Institute of Technology Bombay ประเทศอินเดีย จากการออกแบบบอร์ดเกม “ECO CAMP OUT! Choose Craft Camp” ซึ่งเป็นการพัฒนาบอร์ดเกมหรือของเล่นที่เน้นแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ 8 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผลงานการออกแบบนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Sustainable Design
ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่: DDSDC-B Results
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้