ข่าวสารจุฬาฯ

PMCU เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร “CU POWER OF TOGETHERNESS” สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง ไร้สายสื่อสาร

            สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และพันธมิตรผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม แถลงการดำเนินโครงการ “จัดระเบียบสายสื่อสาร พื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง” ภายใต้แนวคิด “CU POWER OF TOGETHERNESS” เพิ่มเสถียรภาพการสื่อสาร ความปลอดภัย และส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยทัศนียภาพสวยงามให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน ผู้รักษาการรองอธิการบดี กล่าวถึงภาพรวมของโครงการ  รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงนโยบายและความสำคัญของการจัดระเบียบสานสื่อสารในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง Samyan Smart City อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

          ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดี จุฬาฯ  เปิดเผยว่า ปัญหาสายสื่อสารรกรุงรังในพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งด้านความสวยงามและความปลอดภัย สายสื่อสารที่ไม่เป็นระเบียบไม่เพียงแต่ทำให้ทัศนียภาพของพื้นที่ดูไม่น่ามองแล้ว แต่ยังสร้างความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ และส่งผลต่อเสถียรภาพของการใช้บริการอินเตอร์เน็ตภายในพื้นที่อีกด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเห็นความสําคัญของโครงการนี้ และได้เข้ามาดําเนินการ ภายใต้แนวคิด “CU POWER OF TOGETHERNESS” ซึ่งเป็นหลักการสําคัญที่เรายึดถือในการพัฒนามหาวิทยาลัยและพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ PMCU เรามีความตั้งใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ โครงการนี้เป็นก้าวแรกที่สําคัญในการพัฒนาย่านนี้ให้เป็น Thailand’s Street Food Representative แหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่ทุกคนต้องไม่พลาด

             ศ. ดร.วิเลิศ กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการ“จัดระเบียบสายสื่อสาร พื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง” ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มในการสร้างความสุขให้ชาวกรุงเทพมหานคร โครงการนี้ไม่เพียงแต่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความสวยงามมากขึ้น เป็น Smart Happyness of Bangkok โครงการนี้ยังเป็นพลังในการสร้าง Soft Power ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยมีจุดเริ่มที่บรรทัดทอง สวนหลวง สามย่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

            สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานเขตปทุมวัน และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารที่พาดบนเสาไฟฟ้า บริเวณพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง ครอบคลุมพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง กว่า 600 ไร่ รองรับการใช้งานพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้ โดยจะดำเนินการตัดและรื้อถอนสายสื่อสารที่ไม่ใช้งานออกทั้งหมดโดย PMCU ได้เตรียมการมากกว่า 1 ปี ในการสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงใหม่ โดยได้บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และปัจจุบันการติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการแล้ว ซึ่ง PMCU ได้ให้สิทธิ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารจัดการการใช้โครงข่ายเป็นเวลา 10 ปี

            นอกจากนี้ PMCU ยังได้เตรียมการที่จะร่วมกับกรุงเทพมหานครในการปรับปรุงงานกายภาพ สาธารณูปโภคอื่น ๆ ในพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง อย่างต่อเนื่อง อาทิ ทางเดินเท้า ไฟส่องสว่าง การจัดการขยะเศษอาหาร จุดรับส่งอาหาร การบำบัดน้ำทิ้งน้ำเสียในคลองสวนหลวง เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่บรรทัดทองมีทัศนียภาพที่ดีสวยงามสะอาดตาและเป็นจุดหมายที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกจะต้องปักหมุดเช็คอินอีกที่หนึ่งในฐานะแลนด์มาร์คแห่งการท่องเที่ยวสำคัญกลางกรุงเทพฯที่ต้องมาเยือน

          ในโอกาสนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาร่วมงานตัดสายสื่อสารบริเวณถนนบรรทัดทองด้วย กล่าวว่า โครงการนี้ต้องขอขอบคุณ PMCU ที่ให้ความสำคัญกับงานกายภาพและระบบสาธารณูปโภคที่มีการปรับปรุง และร่วมพัฒนาย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ และสิ่งสำคัญคือ คำนึงถึงผู้มาใช้บริการ รวมถึงผู้อยู่อาศัยในชุมชนแห่งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีและมีความยั่งยืน ถนนบรรทัดทองเป็นถนนสายสำคัญของกรุงเทพมหานครเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่มีนักท่องเที่ยวและมีผู้ใช้บริการมาเยี่ยมเยือนจำนวนมากในแต่ละวัน กทม. ยินดีสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมย่านนี้ให้ดียิ่งขึ้น ให้เป็นย่านที่เดินได้ เดินดี มีความปลอดภัย แสงสว่างเพียงพอ และมีทัศนียภาพที่สวยงาม โดยถนนบรรทัดทอง กทม. มีนโยบายปรับปรุงทางเท้าอยู่แล้ว จึงถือโอกาสบูรณาการร่วมกันในจัดระเบียบสายสื่อสารด้วย

          โครงการจัดระเบียบสายสื่อสาร เป็นหนึ่งในนโยบายของท่านผู้ว่าฯ ที่ กทม. ให้ความสำคัญและได้ผลักดัน โดยในปี 2567 นี้ กฟน. และหน่วยงานภาคี มีแผนนำสายสื่อสารลงใต้ดิน จำนวน 27 เส้นทาง ระยะทางรวมกว่า 54.6 กิโลเมตร และยังจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย จำนวน 122 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 269.6 กิโลเมตร

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า