รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาการรายงานผลการศึกษาโครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาแนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาใช้สนับสนุนในการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ โดยมี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ให้การต้อนรับ
โครงการนี้ คณะที่ปรึกษาประกอบด้วย รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.ชนิตา ดวงยิหวา อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ อ.จนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล อาจารย์พิเศษภาควิชาภูมิศาสตร์ และนายวรพจน์ มาศิริ นักวิจัยบริษัท จีไอเอส จำกัด
การสัมมนาในช่วงเช้า เริ่มจากบรรยายพิเศษเรื่อง “AI เปลี่ยนโลก” โดย รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากยุค Rule-based มาเป็นยุค Machine Learning และต่อมาเป็นยุคของ Deep Learning จากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง “การประยุกต์ AI กับความท้าทายในภาครัฐ” วิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย รศ.ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ จุฬาฯ ดร.นรุตม์ สุนทรานนท์ Data Scientist สถาบันการเงิน และคุณอนุช กาญจนาลัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการทำแผนที่ภาพถ่าย กองเทคโนโลยีทำแผนที่ กรมที่ดิน
ในช่วงบ่าย คณะที่ปรึกษารายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างข้อมูลต้นแบบสำหรับการฝึกและตรวจสอบ การสร้างโมเดล Deep Learning เพื่อฝึกการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินทั้งระดับหน่วยหลัก (ป่าไม้ เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ชุมชน เบ็ดเตล็ด) และระดับหน่วยย่อย (แยกย่อยจากหน่วยหลัก) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นภาพถ่ายทางอากาศ 3 ชุด ๆ ละ 200 ตร.กม. ได้แก่ WWS (2495-2497) VAP-61 (2509-2513) และ น.ส.3 (2515-2522) ซึ่งทั้งหมดเป็นภาพถ่ายขาวดำ (Grayscale images) ปิดท้ายด้วยการบรรยายเรื่อง “Generative AI in Geospatial Technology” โดย อ.จนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงรับรองผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประชุมสามัญ ทปอ. ครั้งที่ 1/2568
อบรมเชิงปฏิบัติการ “S.M.A.R.T Communication: พัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์และบรรยากาศที่ดี”
ขอเชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาคณาจารย์ จุฬาฯ พ.ศ. 2568
3-10 มี.ค. 2568
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
1 มีนาคม 2568 เวลา 09.30-15.00 น. ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
พิธีบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จุฬาฯ อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นประดิษฐาน ณ โถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้