ข่าวสารจุฬาฯ

ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ นำเสนอโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัลสำหรับประชาชน ในงาน “อว.แฟร์”

ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (GenEd จุฬาฯ) ได้ร่วมออกบูธในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยบูธของ GenEd จุฬาฯ จะอยู่ในโซน SCIENCE FOR LIFELONG LEARNING  ซึ่งมีการนำเสนอแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัล และจัดกิจกรรม Mini workshop ในหัวข้อ “โซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัลสำหรับประชาชน” ในวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.30 – 12.00 น. ซึ่งเป็นครั้งแรกกับการเปิดตัว Digital Lifelong Learning Solutions for all เรียนฟรี ยืดหยุ่น ได้หน่วยกิต ตามรูปแบบการเรียนแบบ Chula MOOC Flexi กิจกรรม workshop ดังกล่าว ผู้ร่วมงานจะได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตและหลักสูตร Digital Literacy และได้ทดลองเรียนรู้แบบดิจิทัลด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ภายในบูธยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เชิญร่วมกด Like กด Share และลุ้นรับของรางวัลเป็นกล่องสุ่ม

ขอเชิญทุกท่านร่วมสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในรูปแบบดิจิทัลกับศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่บูธ SCIENCE FOR LIFELONG LEARNING และเข้าร่วมกิจกรรม Mini workshop ในหัวข้อ “โซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัลสำหรับประชาชน” ในงาน อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND

GenEd จุฬาฯ จัดทำรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่ม Chula MOOC Flexi จำนวน 28 คอร์สเรียน / 8 ชุดรายวิชาศึกษาทั่วไป บรรจุอยู่บนแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัล Chula Neuron มีเนื้อหารายวิชาเกี่ยวกับ Digital Literacy และ Artificial intelligence (AI) โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรชั้นนำทางการศึกษาภายใต้โครงการโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล (Digital Lifelong Learning Solutions) เพื่อพัฒนาความรู้เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัลในฐานะกำลังแรงงานคุณภาพของประเทศ ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โครงการนี้มุ่งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ให้มีความคุ้นเคยผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และแนวทางการปฏิบัติตนเพื่อให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านั้นแก่ประชาชนไทย ตลอดจนผลิตบุคลากรด้านดิจิทัลในระดับขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นกลาง รูปแบบการเรียนมีความยืดหยุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างครบวงจร เป็นทางเลือกให้ผู้เรียนสะสมการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนในรูปแบบเรียนล่วงหน้าสะสมเครดิตไปจนถึงการเทียบโอนหน่วยกิตเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 3 หน่วยกิต รองรับผู้เรียนที่เป็นนิสิตจุฬาฯ ทุกชั้นปี กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการทหาร บุคลากรหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน คนวัยทำงาน และประชาชนทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีและดิจิทัล

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน Chula MOOC Flexi ทาง https://cuneuron.chula.ac.th/cumooc-flexi ได้ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า