รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ร่วมมือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดโครงการฝึกอบรมองค์ความรู้ทรัพย์สินทางปัญญา ให้แก่อาจารย์ นักวิจัย นิสิต และบุคลากรของจุฬาฯ ตลอดจนเครือข่ายผู้ประกอบการจุฬาฯ การอบรมครั้งที่ 1 หัวข้อ “ภาพรวมทรัพย์สินทางปัญญา” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ หอประชุมนิเทศศาสตร์ ชั้น 11 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี อ.ดร.ศันธยา กิตติโกวิท ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ เป็นประธานเปิดงาน นายภเชศ จารุมนต์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยากร เนื้อหาการอบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ประเภททรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาสากล
อ.ดร.ศันธยา กิตติโกวิท ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ กล่าวว่า สังคมในปัจจุบันล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม นักวิจัยจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้สร้างสรรค์ “นวัตกรรม” เพื่อช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม สร้างความแตกต่างที่เป็นอัตลักษณ์ให้ธุรกิจ พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าทั้งในและต่างประเทศได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์สังคม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบ่มเพาะอาจารย์ นักวิจัย นิสิตและบุคลากรของจุฬาฯ ตลอดจนเครือข่ายผู้ประกอบการ ให้เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางานวิจัยให้ก้าวไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ด้วยการพัฒนาศักยภาพและการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรวิจัยให้มีองค์ความรู้ทางด้านทรัพยสินทางปัญญา มุ่งเน้นสู่การเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาระดับประเทศ
โครงการฝึกอบรมองค์ความรู้ทรัพย์สินทางปัญญา โดยวิทยากรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ครั้งต่อไปมีหัวข้อดังนี้
– ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น.
การบรรยายในหัวข้อ “ระบบวิเคราะห์แนวโน้มสิทธิบัตร”
วิทยากร: นายสันติพงศ์ เตชนราวงศ์ นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรปฏิบัติการ นางสาวศิริณี ทองปัญจา นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรชำนาญการ
เนื้อหาการอบรม: การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล
ครั้งที่ 3 : วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น.
การบรรยายเรื่อง “การร่างคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร” (ภาคบรรยาย)
วิทยากร: นางสาวรุ่งระวี อิ่มผิว นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรชำนาญการ
เนื้อหาการอบรม: หลักการและองค์ประกอบหลักการร่างคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่พบบ่อย
ครั้งที่ 4 : วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 – 16.30 น.
การบรรยายเรื่อง “การร่างคำขอสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร” (ภาคปฏิบัติ)
วิทยากร: นางสาวรุ่งระวี อิ่มผิว และนายสมปอง มณีรุ่ง นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตรชำนาญการ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้