รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “MUAYTHAI : POWER & SPIRIT” ผลงานสร้างสรรค์ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “หมัดสั่ง: ฟื้นประวัติมวยไทยบนสังเวียนโลก” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ โรงภาพยนตร์ House Samyan ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ โดยมี ศ. ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของโครงการ รศ. ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อํานวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวรายงาน และคุณวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวเปิดงาน มีผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคีความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ภาควิชาการ สื่อมวลชน ครูมวย ตลอดจนผู้สนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้
สารคดีเรื่อง “MUAYTHAI : POWER & SPIRIT” เป็นผลงานจากโครงการ “หมัดสั่ง : ฟื้นประวัติมวยไทยบนสังเวียนโลก” นำโดย ศ. ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และมีหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นหน่วยงานสนับสนุนหลัก พร้อมทั้งภาคีภาครัฐและภาคเอกชนร่วมดำเนินงาน ได้แก่ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด บริษัท บัญชาเมฆ จำกัด ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการต่างประเทศ
ภาพยนตร์สารคดีมีความยาวทั้งสิ้น 45 นาที มุ่งนำเสนอให้เห็นถึงคุณค่าของมวยไทยที่มีอานุภาพและจิตวิญญาณของนักสู้ที่แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร แต่จิตวิญญาณของมวยไทยไม่เคยเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้สอดคล้องกับการนำไปเผยแพร่ได้อย่างเหมาะสมและกว้างขวางมากขึ้นทั้งในระดับชาติและนานาชาติ จึงมีการแปลคำบรรยายเป็นภาษาต่าง ๆ ทั้งสิ้น 7 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สเปน รัสเซีย และอาหรับ ผลงานเรื่องนี้จึงนับเป็นการเปิดมิติใหม่ในการขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยไปเผยแพร่สู่ระดับชาติและนานาชาติในรูปแบบสื่อบันเทิง ซึ่งจะยังประโยชน์ทั้งในเชิง “คุณค่าทางวัฒนธรรม” และ “มูลค่าทางเศรษฐกิจ” สู่สังคมไทย สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง Soft Power นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะนำไปเผยแพร่ในงานเทศกาลภาพยนตร์ ตลาดสารคดีโลก สถานทูตไทยในต่างประเทศ สถาบันการศึกษาในต่างประเทศ หน่วยงานการท่องเที่ยวไทยในต่างประเทศ ฯลฯ โดยผ่านความร่วมมือกับภาคีร่วมดำเนินงานและหน่วยงาน/ องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ศ. ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของโครงการวิจัยดังกล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตระหนักในความสำคัญต่อการผลิตผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ของประเทศและบริบทสังคมโลกอย่างรอบด้าน มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่ไปกับการนำไปใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดผลทางสังคมโดยรวมอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่โครงการวิจัยเรื่อง หมัดสั่ง: ฟื้นประวัติมวยไทยบนสังเวียนโลก ได้ก่อร่างสร้างสรรค์ผลงานวิจัยออกมาในรูปแบบภาพยนตร์สารคดี เรื่อง MUAYTHAI : POWER AND SPIRIT ผลงานชิ้นนี้ไม่เพียงสร้างวงล้อการทำงานวิจัยที่ประสานสอดคล้องระหว่างความเชี่ยวชาญของแต่ละภาคส่วนทั้งผู้คิด ผู้ทำ ผู้นำไปใช้ และผู้สนับสนุนเท่านั้น หากแต่ได้แผ่ผ่านคุณค่าของมวยไทยให้งอกงามข้ามประเทศไปสู่สายตานานาชาติได้อย่างมีศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งจะหนุนนำยังประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งเกียรติภูมิและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศตามมา ซึ่งนั่นหมายความว่าจะเป็นพลังในการเสริมส่ง Soft Power ให้แก่ประเทศไทยในอีกทางหนึ่ง”
นอกจากนี้หลังจากชมภาพยนตร์ มีการเสวนาในหัวข้อ “MUAYTHAI : POWER & SPIRIT กับการเป็นพลังในการขับเคลื่อนมวยไทยสู่เวทีโลก” โดย ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ประธานสหพันธ์สมาคมมวยไทยนานาชาติ (IFMA) ร้อยโท สมบัติ บัญชาเมฆ (บัวขาว บัญชาเมฆ) นักมวยไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก คุณอลงกรณ์ ทาอุบล ที่ปรึกษาโครงการด้านวัฒนธรรม บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด โดยมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นผู้กล่าวปิดงาน
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้