ข่าวสารจุฬาฯ

โครงการ “จุฬาฯ สืบสาน สร้างป่า” ปลูกต้นยางนา 2,772 ต้น ณ พื้นที่จุฬาฯ สระบุรี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ ร่วมกับประชาคมจังหวัดสระบุรีจัดโครงการ “จุฬาฯ สืบสาน สร้างป่า” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ปลูกต้นยางนาจำนวน  2,772 ต้น ในพื้นที่ 27 ไร่ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่แปลงปลูกป่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีนายวิชัย บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ  ผศ.ดร.นพดล กิตนะ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมบรรยายและสาธิตการปลูกต้นไม้ด้วยนวัตกรรมการปลูกป่าจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            โครงการ “จุฬาฯ สืบสาน สร้างป่า” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 จัดขึ้นเพื่อสนองพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอดงานในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าแก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป เป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าสะสมคาร์บอนภายในจังหวัดสระบุรี

            กิจกรรมในครั้งนี้มีคณาจารย์ บุคลากรและนิสิตจุฬาฯ ผู้แทนจากสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ จ.สระบุรี หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสระบุรี ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ครู นักเรียน และประชาชนชาวสระบุรีกว่า 700 คนร่วมกันปลูกต้นยางนาซึ่งเป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปลูกในพื้นที่ป่าไม้สาธิตเพื่อการอนุรักษ์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504

            การปลูกป่าในโครงการ “จุฬาฯ สืบสาน สร้างป่า” ใช้นวัตกรรมจากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซาลงไปในรากของกล้าไม้วงศ์ไม้ยาง เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของต้นไม้และป้องกันโรค ซึ่งราเอคโตไมคอร์ไรซาจะเติบโตและกลายเป็นเห็ดที่รับประทานได้ เช่น เห็ดเผาะ เห็ดระโงก ฯลฯ รวมทั้งมีการใช้ พอลิเมอร์ชีวภาพ เพื่อช่วยกักเก็บน้ำใต้ดินให้ต้นไม้ได้ใช้น้ำหล่อเลี้ยงให้ต้นไม้เจริญเติบโต ซึ่งในอนาคตกล้าไม้ยางนาจำนวน 2,772 ต้นจะเติบโตเป็นผืนป่าที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้จังหวัดสระบุรีต่อไป

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า