รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ จัดโครงการสัมมนา “URM Values Unlock: ปลดล็อคคุณค่าการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย Managing the Risks of Generative AI in Higher Education Context” ในวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง 225 อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และทางออนไลน์ผ่านช่องทาง Zoom
เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ Generative AI และการจัดการความเสี่ยงในบริบทของการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและประสิทธิภาพในการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม
กล่าวเปิดงานโดย อ.ดร.วิท วรรณไกรโรจน์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาฯ
วิทยากร : ดร.อวิรุทธ์ ฉัตรมาลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาฯ ผศ.นพ.กฤษณ์ ขวัญเงิน ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
อ.ดร.วิท วรรณไกรโรจน์ ผู็รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านยุทธศาสตร์และการดูแลหน่วยงานด้านความเสี่ยง จุฬาฯ กล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเข้าใจและบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Generative AI ในบริบทของมหาวิทยาลัย และการตั้งเป้าหมายขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเชิงยุทธศาสตร์สู่ AI University
จากนั้นเป็นการสัมมนาโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ตรงในการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ Generative AI
Session 1: ความเสี่ยงของ GenAI ในบริบทอุดมศึกษา
โดย ดร.อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง ผู้อำนวยการศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาฯ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก Generative AI เช่น ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การมีอคติในข้อมูลที่ใช้ในการฝึกฝน AI และความเสี่ยงด้านจริยธรรม และกรอบแนวทางการบริหารความเสี่ยง “5In” สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใช้วางแผนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ
Session 2: การใช้ GenAI ในงานวิชาการอย่างมีจริยธรรม
โดย ผศ.นพ.กฤษณ์ ขวัญเงิน รองคณบดีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติและตัวอย่างจริงในการวางระบบการกำกับดูแลจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT governance) โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT structure) อย่างเป็นระบบ ตลอดจนการปลูกฝังค่านิยมการใช้งานอย่างมีจริยธรรม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลดความเสี่ยงจากการมาของ Generative AI
Session 3: แนวปฏิบัติสำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในมหาวิทยาลัย
โดย รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ ได้นำเสนอวิธีการและแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการใช้ AI ในมหาวิทยาลัยเพื่อลดความเสี่ยง และแสดงตัวอย่างแนวปฏิบัติและหลักการของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการนำ Generative AI มาใช้
นอกจากนี้มีการจัดกิจกรรม “URM Lessons Learned: ถอดบทเรียนจากการบริหารความเสี่ยงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นการนำเสนอกรณีศึกษาที่ดีจากส่วนงาน/หน่วยงานต่างๆ ภายในจุฬาฯ แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่
– คณะแพทยศาสตร์ (Hazard & Safety Risk) โดย รศ.นพ.พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา
– คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Operational Risk) โดย คุณปวีณา วัฒนบุตร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และคุณพัชรินทร์ ธรรมสุวรรณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
– ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ (Reputational Risk) โดย คุณณิษาภัษณ์ ประยงค์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจส่งเสริมสุขภาพและสร้างเสริมสุขภาวะ และคุณรัชดาภร บำรุงพิพัฒนพร หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริการทางการแพทย์
– สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม (Financial Risk) โดย ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ น้ำประสานไทย รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
– คณะเภสัชศาสตร์ (Strategic Risk) โดย ผศ.ภญ.ดร.ร.ต.ท.หญิง วลัยศิริ ม่วงศิริ รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน
– คณะเศรษฐศาสตร์ (Compliance Risk) โดย รศ.ดร.ดนุพล อริยสัจจากร รองคณบดีรับผิดชอบกลุ่มภารกิจด้านหลักสูตรและการจัดการศึกษา และกลุ่มภารกิจด้านวิเทศสัมพันธ์
การสัมมนาในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ AI ในบริบทของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้และกลยุทธ์ในการนำ AI ไปใช้ในทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้