รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
การพัฒนาทักษะการสื่อสารและการพูดภาษาอังกฤษแก่นิสิตจุฬาฯ ในที่สาธารณะเป็นเป้าหมายที่สำคัญของกลุ่มโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะด้านดังกล่าว โครงการ Workshop Debate 2024 เป็นกิจกรรมที่กลุ่มโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ จุฬาฯ จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตทุกคณะได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการโต้วาทีภาษาอังกฤษ ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์และ Workshop ที่เข้มข้น ช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม เพิ่มความมั่นใจในการนำเสนอในที่สาธารณะ และสร้างความพร้อมให้กับนิสิตในการศึกษาต่อและการทำงานในอนาคต โดยมี นายสมภูมิ สุวรรณวีรวงศ์ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานชมรมโต้วาทีภาษาอังกฤษ จุฬาฯ (Chula English Debate) เป็นประธานจัดโครงการนี้
จุดเริ่มต้นของ Workshop Debate 2024
สมภูมิ สุวรรณวีรวงศ์ ประธานชมรมโต้วาทีภาษาอังกฤษ จุฬาฯ เปิดเผยว่า โครงการ Workshop Debate 2024 จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตได้ฝึกฝนพื้นฐานการโต้วาที เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญและมีประโยชน์ต่ออนาคต และเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตที่ไม่เคยมีประสบการณ์การโต้วาทีภาษาอังกฤษได้ลองฝึกพื้นฐาน เพื่อค้นหาว่าตนเองชอบหรือไม่ โครงการนี้จะมอบพื้นฐานในการโต้วาทีให้นิสิตสามารถนำไปฝึกต่อในชมรมฯ และนำประสบการณ์ไปใช้ในการแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษได้ในอนาคต
“โครงการนี้เน้นการพัฒนาความมั่นใจในตัวเองและการกล้าแสดงออก รวมถึงการสร้างเครือข่ายของนิสิตที่สนใจในด้านการโต้วาที เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาชมรมและการจัดกิจกรรมในอนาคตอีกด้วย” สมภูมิกล่าว
รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
โครงการ Workshop Debate 2024 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2567 ณ อาคารจุลจักรพงษ์ โดยเปิดรับสมัครนิสิตจุฬาฯ จากทุกคณะ รวมถึงนิสิตจากมหาวิทยาลัยอื่นและนักเรียนมัธยมปลายที่สนใจ กิจกรรมในโครงการเน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง โดยมีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมที่จัดขึ้นมีการบรรยายให้ความรู้และการแบ่งกลุ่มย่อยให้ผู้ร่วมกิจกรรมรับคำแนะนำและการฝึกสอนจากวิทยากร นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการจัดโครงการเพื่อหาข้อปรับปรุงและพัฒนาโครงการในครั้งต่อไป
ความท้าทายและการแก้ไขปัญหา
ในฐานะประธานโครงการ สมภูมิมองว่าความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือการจัดการกับความแตกต่างของระดับทักษะภาษาอังกฤษของผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีตั้งแต่นิสิตที่เรียนหลักสูตรนานาชาติและมีประสบการณ์โต้วาทีมาแล้ว จนถึงนิสิตที่สนใจแต่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก สมภูมิและทีมงานจึงต้องปรับเนื้อหาและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับทุกคน เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าการเรียนรู้นั้นเป็นไปได้และมีประโยชน์สำหรับตนเอง
หลากหลายกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์และทักษะแก่นิสิต
โครงการ Workshop Debate 2024 ช่วยให้นิสิตพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จในอนาคต เริ่มจากการฝึกคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานและการเรียนรู้ทุกสาขา นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมทักษะการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การโต้วาทีช่วยให้นิสิตนำเสนอประเด็นต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจและโน้มน้าวใจผู้ฟัง การทำงานเป็นทีมก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่นิสิตจะได้ฝึกผ่านการประสานงานและแบ่งหน้าที่ในกลุ่ม นอกจากนี้ โครงการนี้ยังเพิ่มความมั่นใจให้นิสิตในการพูดในที่สาธารณะและโต้วาที ทำให้นิสิตกล้าแสดงความคิดเห็นและนำเสนอในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญทั้งในห้องเรียนและชีวิตการทำงาน การเข้าร่วมโครงการนี้ยังช่วยเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน การสอบสัมภาษณ์ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ สร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับความสำเร็จในอนาคต
การประเมินผลและต่อยอดในอนาคต
สมภูมิกล่าวว่าหลังจากการจัด Workshop แล้วได้มีการประเมินผลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Forms เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คะแนนความพึงพอใจ ข้อมูลจากการประเมินนี้จะถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการในอนาคต นอกจากนี้ยังมีการติดตามผลว่ามีนิสิตกี่คนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องกับชมรม และมีการนำทักษะไปใช้ในการแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษหรือร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ชื่อของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในระยะยาวของโครงการ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
อาจารย์จุฬาฯ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2567
จุฬาฯ วางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรม “Book & Gift For Share” เนื่องในวันหนังสือเด็กสากล 2 เมษายน
2 เม.ย. 68
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk: Study Safe, Stay Calm เรียนได้ อยู่ดี ภัยพิบัติใด ก็ไม่หวั่น
4 เม.ย. 68 เวลา 2.00 -13.00 น.
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ (หอสมุดกลาง)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้