รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ITA ปี 2567 ด้วยคะแนน 88.99 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.86 คะแนน โดยได้คะแนนเต็มในการเปิดเผยข้อมูลและป้องกันการทุจริต พร้อมเดินหน้าพัฒนาต่อโดยมีเป้าหมายปี 2568 คือเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาคมจุฬาฯ รวมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในด้านงบประมาณ ด้านจัดซื้อจัดจ้าง และด้านแจ้งเบาะแสให้เท่าทันความเสี่ยงใหม่ๆ ร่วมสร้างจุฬาฯ สู่มหาวิทยาลัยแห่งความโปร่งใสและธรรมาภิบาล
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้ประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.30 น. ผ่านการถ่ายทอดสดจากห้องนนทบุรี 1 อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช.(สนามบินน้ำ) นนทบุรี จากทั่วประเทศ มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมการประเมินทั้งสิ้นกว่า 8,325 หน่วยงาน ทำคะแนนเฉลี่ยรวมทั่วประเทศได้ 93.05 คะแนน (เพิ่มขึ้น 2.86 คะแนน) สูงสุดตั้งแต่มีการประเมินภาพรวมระดับประเทศ ตามค่าเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ปีนี้ปรากฏว่ามีหน่วยงานที่ได้ 85 คะแนนขึ้นไปตามเป้าหมาย 7,696 หน่วยงาน หรือคิดเป็น 92.44% อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าทุกหน่วยงานต้องผ่าน 85 คะแนนขึ้นไป
ทั้งนี้ ในงาน ITA DAY 2024 ภายใต้แนวคิด “Transparency with Quality : โปร่งใสอย่างมีคุณภาพ” ITA AWARDS 2024 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้คะแนนอยู่ในระดับ “ผ่าน” การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประเภทสถาบันอุดมศึกษา ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 โดยได้ 100 คะแนนเต็มเป็นปีที่ 5 ในเครื่องมือ OIT ผ่านตัวชี้วัดที่ 9 ด้านการเปิดเผยข้อมูล และตัวชี้วัดที่ 10 ด้านการป้องกันการทุจริต โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยรวมที่ 88.99 คะแนน (เพิ่มขึ้น 2.86 คะแนน)
จากการให้คะแนนผ่านแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ส่วนที่ 1 และ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างมกราคม – กรกฎาคม 2567 พบว่ามีประชาคมชาวจุฬาฯ ร่วมทำแบบประเมินจำนวนทั้งสิ้น 917 คน แบ่งเป็นกลุ่มบุคลากรภายใน 515 คน จากผู้มีสิทธิทั้งหมดกว่า 7,307 คน คิดเป็น 7.05 % และกลุ่มนิสิต และผู้มารับบริการหรือผู้มาติดต่อหน่วยงานอีก 448 คน
จุฬาฯ หวังขยายการมีส่วนร่วมจากสมาชิกเครือข่ายผู้แทนความโปร่งใสและคุณธรรม (CU-ITA Agent) ซึ่งเป็นผู้แทนจากคณะ/ส่วนงานให้เกิดการรับรู้ให้ได้ถึง 700 คนในปีถัดไป เพื่อต่อยอดเครือข่ายเฝ้าระวังการป้องกันและลดความเสี่ยงคอร์รัปชันที่อาจจะเกิดขึ้น
ยกตัวอย่างข้อเสนอแนะนวัตกรรมที่สามารถนำมาพัฒนา เพื่อทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกิดการมีส่วนร่วมและมีธรรมาภิบาลที่ดียิ่งขึ้นใน 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
1.ข้อมูลเปิดด้านงบประมาณ เน้นการมีส่วนร่วม (Active Participation): ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากบุคลากรภายในและนิสิตในการตรวจสอบและรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านบริหารงานงบประมาณ
2.ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง เน้นใช้ข้อมูลเพื่อประเมินความเสี่ยง (Open Data for Risk Management): ใช้ข้อมูลเปิด เพื่อประเมินและจัดการความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านเทคโนโลยีตรวจจับได้
3.ข้อมูลแจ้งเบาะแสทุจริต เน้นเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการร้องเรียน (Effective Channel) : ปรับปรุงและพัฒนาช่องทางสื่อสารและติดตามสถานะการแจ้งเบาะแสทุจริตได้ รองรับ 2 ภาษา (THA/ENG)
ในปีงบระมาณ 2568 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังคงเปิดพื้นที่สื่อสารให้บุคลากรมีส่วนร่วมได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน เพื่อสร้างให้เกิดแรงกระตุ้นแก่คณะ/หน่วยงานร่วมปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงาน การให้บริการ สามารถอำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อความต้องการของนิสิตและผู้มาใช้บริการตามกระบวนการ PDCA ต่อไปทุกปี
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 32 จุฬาฯ ระดมความรู้ข้ามศาสตร์ “ฝ่าวิกฤตแผ่นดินไหว” ชวนคิด ชวนถาม เตรียมพร้อมรับมือและฟื้นตัวจากภัยพิบัติ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้