ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิต MBA ศศินทร์ ลงพื้นที่ทัศนศึกษาชุมชนท่าฉลอม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างแบรนด์ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” นำนิสิต MBA ลงพื้นที่ทัศนศึกษาชุมชนท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร ในวิชา Brand Management in the Era of Sustainability and Digital Transformation ระดมความคิดแบรนด์ชุมชนท่าฉลอม

นิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management, Chulalongkorn University) ลงพื้นที่ทัศนศึกษาชุมชนท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อ “Sustainable place branding from the bottom-up session” (การสร้างแบรนด์ในสถานที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากรากฐานสู่ยอด) ภายใต้วิชา Brand Management in the Era of Sustainability and Digital Transformation (การจัดการแบรนด์ในยุคแห่งความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล) โดยมี ผศ.ดร.ยุพิน ภัทรพงศ์สันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ นำนิสิตหลักสูตร MBA ร่วมสำรวจและออกแบบการสร้างอัตลักษณ์พื้นที่ท่องเที่ยวชุมชนและนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่

สำหรับการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง (Action Learning) เริ่มจากการรับฟังบรรยายสรุปประวัติความเป็นมาของชุมชนท่าฉลอม โดย ดร.สุวันชัย แสงสุขเอี่ยม ประธานกรรมการบริษัท สมุทรสาครพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ณ บ้านท่าฉลอม ศูนย์ท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชน จากนั้นเป็นการนั่งรถรางชมเมืองเก่าท่าฉลอมไปตามถนนถวาย ซึ่งมีทั้งร้านขายอาหารทะเลแห้ง สตรีทอาร์ต อาคารโบราณที่มีอายุมากกว่า 100 ปี แวะชมสถานที่สำคัญ เช่น ศาลเจ้าแม่จุ๊ยบ๋วยเนี้ย (เจ้าแม่ทับทิม) โรงเจเช็งเฮียงตั๊ว ศาลเจ้าปุนเถ้ากง (ศาลเจ้ากลาง) เรียนรู้ถึงความสำคัญของศาลเจ้าต่อชุมชนคนจีนอพยพที่มาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 โดยสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2448 (ร.ศ. 124) ซึ่งถือเป็นสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกในประเทศไทย และได้แวะชมวัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม) สถานีรถไฟบ้านแหลม เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลเรื่องของวัฒนธรรม อาหาร และศิลปะจากสถานที่จริงและพบปะกับผู้คนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจในอัตลักษณ์และความเป็นมาที่เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของชุมชน

หลังจากนั้นได้แบ่งกลุ่มนิสิตอภิปรายในเรื่องการสร้างแบรนด์ชุมชนท่าฉลอม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด โดยสกัดอัตลักษณ์และจุดเด่น จุดที่แตกต่างของพื้นที่กับพื้นที่อื่น วางแผนการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมือง รวมถึงเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจซึ่งได้นำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่บ้านท่าฉลอม ภายใต้ สมุทรสาครพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) โดยมีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) การนำเสนอเป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และทีมงาน

ทั้งนี้ จุดประสงค์หลักของการเรียนรู้ในหลักสูตร MBA ของศศินทร์นั้น เน้นไปที่เชื่อมโยงบทเรียน ทฤษฎีการพัฒนาแบรนด์กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมในวงกว้าง เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและสะท้อนการยกระดับมูลค่าสินค้าและบริการในพื้นที่ต่อไป โดยนิสิตหลักสูตร MBA ของศศินทร์ ได้ลงพื้นที่และฝึกปฏิบัติจริง และนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนมานำเสนอแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้แผนงานต่าง ๆ ที่นำเสนอนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในพื้นที่ชุมชนท่าฉลอมอย่างต่อเนื่องต่อไป

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า