คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ และการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 17

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ และการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 17 (17th National Conference of Economists and Graduate Conference in Economics) หัวข้อ “ทุนมนุษย์ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนของไทย” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2567 โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม กล่าวรายงานโดย รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ณ ห้องประชุม 202 อาคารมหิตลาธิเบศร

การประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ และการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 17 จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ 9 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศชาติ โดยมีการนำเสนอบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ


ในงานมีการปาฐกถาเรื่อง “ครอบครัวกับการพัฒนามนุษย์” โดย รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ได้รับรางวัล “ป๋วย อึ้งภากรณ์ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2566” และการปาฐกถาเรื่อง“โครงสร้างเชิงสถาบันกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” โดยคุณบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อการประชุมกลุ่มย่อย 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.เศรษฐกิจยั่งยืน ชุมชนท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม และการเกษตร 2.เศรษฐศาสตร์แรงงาน ทรัพยากรมนุษย์ และอุตสาหกรรม 3.อาเซียน เศรษฐกิจโลก และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ 4. เศรษฐศาสตร์การเมือง สถาบัน ธรรมาภิบาล และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม 5. นโยบายการเงิน การคลัง และเศรษฐกิจมหภาค 6. เศรษฐศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ และมโนสาเร่

ทั้งนี้ในงานมีพิธีมอบธงการเป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ และการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 18 แก่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย