ข่าวสารจุฬาฯ

ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และเอกอัครราชทูตนอร์เวย์เปิดการประชุม ASEAN Regional Workshop “Mitigation of Microplastic Pollution and Implications for Fisheries and Human Health”

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันอาเซียนศึกษา ประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ และสถาบันวิจัยทางน้ำ ประเทศนอร์เวย์ จัดการประชุม ASEAN Regional Workshop “Mitigation of Microplastic Pollution and Implications for Fisheries and Human Health” เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567 ที่ห้องประชุมบานเย็น สายัณหวิกสิต ชั้น 15 อาคารมหาวชิรุณหิศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และ Mrs. Astrid Emilie Helle เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม คุณสุมนา ขจรวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ Dr. Thorjørn Larssen รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สถาบันวิจัยทางน้ำของนอร์เวย์ (Norwegian Institute for Water Research: NIVA) กล่าวรายงาน

การประชุม ASEAN Regional Workshop “Mitigation of Microplastic Pollution and Implications for Fisheries and Human Health”  มีการประชุมในหัวข้อต่างๆ โดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเป็นวิทยากร ประกอบด้วย หัวข้อแนวทางการป้องกันมลพิษของไมโครพลาสติกในประเทศอาเซียน ทั้งในมุมของนานาชาติและท้องถิ่น นโยบายเกี่ยวกับไมโครพลาสติก และงานวิจัยเรื่องผลกระทบของไมโครพลาสติกกับความปลอดภัยต่อมนุษย์

การประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านมลพิษไมโครพลาสติกที่มีผลกระทบต่อการประมงและสุขภาพมนุษย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหานี้ร่วมกัน

Dr. Arisman Executive Director, Center of Southeast Asian Studies (CSEAS), Indonesia
Dr. Thorjørn Larssen, Deputy Chief Executive Officer, Norwegian Institute for Water Research (NIVA)
H.E. Astrid Emilie Helle, Ambassador of Norway to Thailand
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ
รศ.ดร.ปาลนี อัมรานนท์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ
ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
นางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า