รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 สิงหาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ
ศ.ดร.อัญชลี ทัศนาขจร จากภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 จากผลงานการศึกษาวิจัยที่มีผลประโยชน์สูงต่อการเลี้ยงกุ้ง โดยได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ได้จัดงานแถลงข่าวรางวัลนักวิจัยดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ณ ห้องวิภาวดีบอลลูน ซี โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว โดยมีคุณศุภมาส อิศรภักดี รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัล ร่วมด้วย ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานคณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
ศ.ดร.อัญชลี ทัศนาขจร นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 มีผลงานวิจัยที่โดดเด่นในฐานะ “ผู้ค้นพบและระบุหน้าที่สำคัญของยีนและโปรตีนในระบบคุ้มกันของกุ้ง เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งสุขภาพดีและต้านทานโรค” จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งทะเล โดยใช้เทคนิคด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล เพื่อระบุยีนและหน้าที่ของโปรตีนภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเลี้ยงกุ้งสุขภาพดีและต้านทานโรค ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่จะเกิดจากโรคระบาดได้
ศ.ดร.บัญชา พูลโภคา ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านงานพัฒนาวิจัย จุฬาฯ เป็นตัวแทนกล่าวแสดงความยินดีแก่ ศ.ดร.อัญชลี ทัศนาขจร โดยกล่าวว่า “งานวิจัยการค้นพบและระบุหน้าที่สำคัญของยีนและโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง ไม่เพียงแต่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งในมุมมองที่เป็นประโยชน์แก่แวดวงวิชาการ แต่ยังนำไปสู่การต่อยอดพัฒนาทางการเกษตรและเศรษฐกิจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในสังคม รวมไปถึงช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน”
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 43 มีผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2567 จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ศ.ดร.อัญชลี ทัศนาขจร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.กัลยาณ์ ศรีธัญญาลักษณา-แดงติ๊บ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในส่วนของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2567 มีผู้ได้รับรางวัล 2 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร.ธีรวิทย์ วิไลประสิทธิ์พร จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และ ผศ.ดร.อิทธิพล จีระพันธ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ข้อมูลข่าวจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ – สสว. ส่งเสริม SMEs ไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม AI รายงาน Carbon Footprint
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดโครงการ “ร่วมใจทำความดี บริจาคโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้