รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ปฏิทินกิจกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดร่วมมือจัดงานประชุมวิชาการระดับโลก HPAIR Asia Conference 2024 ภายใต้ธีม “Reimagining Connectivity: Building Bridges in a Globalized Society” ระหว่างวันที่ 21 – 25 สิงหาคม 2567 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมผนึกกำลังเหล่าผู้นำองค์กร นักวิชาการ นักขับเคลื่อนสังคม นักธุรกิจเเนวหน้าจากหลากหลายอุตสาหกรรม เเลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้นำเเห่งอนาคตใน Academic Forum
ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น การเข้าร่วมฟังบรรยายและพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้นำและนักธุรกิจทั่วโลก อาทิ Ho Ren Hua (โฮ เร็น ฮัว) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทย วา จำกัด (มหาชน), Laura Houldsworth (ลอร่า โฮลด์สเวิร์ธ) กรรมการผู้จัดการและรองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบริษัท Booking.com, Emmy Kan (เอ็มมี่ คาน) รองประธานอาวุโสและประธานภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Starbucks (สตาร์บัคส์), H.E. Igor Driesmans (ท่านเอกอัครราชทูตอิกอร์ ดรีสมานส์) เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำกัมพูชาและผู้แทนพิเศษของสหภาพยุโรปสำหรับเมียนมา อีกทั้งยังมีนักธุรกิจชาวไทยที่โดดเด่นอีกหลายท่าน อาทิ คุณสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปูเน็กซ์ จำกัด เป็นต้น
นอกจากการเข้าร่วมฟังบรรยายในประเด็นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมแล้ว HPAIR Asia Conference 2024 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยปีนี้ ยังเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ผ่านกิจกรรม iNight Show ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานจากหลากหลายภูมิภาคทั่วโลกได้สร้างสรรค์การแสดงที่นำเสนอจุดเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติอีกด้วย
การเป็นเจ้าภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจัดงานประชุม HPAIR Asia Conference 2024 ในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการผลักดันประเทศไทยไปสู่เวทีวิชาการระดับโลก
HPAIR หรือ The Harvard College Project for Asian and International Relations เป็นโครงการภายใต้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่มุ่งสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ประเด็นสำคัญต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงประเด็นสำคัญทางสังคมในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิก ซึ่งผู้เข้าร่วมงาน นิสิต นักศึกษาและเหล่าผู้นำเเห่งอนาคต จะมีโอกาสพูดคุย ตั้งคำถามและเรียนรู้อย่างใกล้ชิดกับผู้นำองค์กร นักธุรกิจเเนวหน้า รวมถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงในเอเชียแปซิฟิก เพื่อต่อยอดพัฒนาศักยภาพของตนเองพร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำที่ยั่งยืนในอนาคต
นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 HPAIR Asia Conference จัดขึ้นมาแล้วกว่า 34 ประเทศในทวีปเอเชีย และในปีนี้ถือเป็นความสำเร็จของประเทศไทยภายใต้การขับเคลื่อนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้ชนะการประกวดการสรรหาเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุมนานาชาติในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงพันธกิจเเละความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศทั้งในมิติด้านการสร้างผู้นำเเห่งโลกอนาคต เเละการผลักดันด้านความร่วมมือระดับนานาชาติในภาพรวม
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.hpair.org/ และทาง Instagram @cuhpair และ @officialhpair
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้