รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน “CU-HPAIR Asia Conference 2024” การประชุมนานาชาติ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 21 – 25 สิงหาคม 2567 ภายใต้ธีม “Reimagining Connectivity: Building Bridges in a Globalized Society” โดยเชิญนักธุรกิจและผู้นำระดับแนวหน้าในทุกสาขาจากทั่วโลก รวมถึงตัวแทนคนรุ่นใหม่จากหลากหลายประเทศเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะของผู้เข้าร่วมงานจากนานาประเทศ รวมถึงสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาไทยกับนักศึกษานานาชาติผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้ง Impact Challenge และงาน I-Night
ก่อนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม “CU-HPAIR Asia Conference 2024” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ส่งตัวแทนนิสิตเข้าร่วมงานประชุมของโครงการ HPAIR เพื่อศึกษาและสร้างสายสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สองนิสิตจุฬาฯ ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม HPAIR Asia Conference 2023 ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เผยประสบการณ์จากการเข้าร่วมการประชุม HPAIR Asia Conference รวมถึงงาน I-Night และ Impact Challenge ซึ่งเป็น Highlight สำคัญของงานประชุมดังกล่าว
สรรค์ชัย อัศวทวีโชค (แน่น) นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 1 ใน 5 ตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ที่เข้าร่วมการประชุม HPAIR Asia Conference 2023 เปิดเผยว่า ตนสนใจเข้าร่วมการประชุมนานาชาติครั้งนั้นเนื่องจากเป็นงานประชุมเพียงไม่กี่งานที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้ฟังผู้นำระดับโลกจากสายงานด้านต่าง ๆ และยังเปิดโอกาสให้ได้พบปะกับตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ในหลากหลายศาสตร์ Highlight ในงานประชุม “HPAIR Asia Conference 2023” คือการสัมมนาของผู้พูดแต่ละท่านซึ่งมาจากหลากหลายศาสตร์ จึงเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ ในการได้เข้าไปรับฟังแนวคิดและประสบการณ์ของตัวจริงในด้านนั้น ๆ รวมถึงกิจกรรมสานสัมพันธ์กับตัวแทนนักศึกษาจากประเทศอื่น ๆ
อีกหนึ่งกิจกรรมคือ I-Night ที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนของแต่ละประเทศได้แสดงศักยภาพของตัวเอง และแต่งกายชุดประจำชาตินำเสนอวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งแน่นก็ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่ไม่มีวันลืมเลือน เนื่องจากแน่นเติบโตมากับสายการแสดงและละครเวที รวมทั้งเป็นนักร้องชมรม CU Band การได้เป็นตัวแทนประเทศไทยขึ้นร้องเพลงลูกกรุงไทยโดยใช้เพลงที่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดในโครงการศิลปหัตถกรรมระดับประเทศ จึงเป็นโอกาสในการแสดงความสามารถด้วยความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง โดยแน่นได้เป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นไปทำการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมบนเวที ซึ่งได้รับเสียงปรบมือที่ดังกักก้องจากผู้ชม สร้างรอยยิ้มและความสุขแก่ทุกคน โดยใช้เสียงเพลงซึ่งไม่มีข้อจำกัดทางด้านภาษา นอกจากนี้กิจกรรม I-Night ยังสร้างความรู้สึกอิ่มเอมใจ และปลาบปลื้มใจที่ได้เห็นความสวยงามของวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งได้พัฒนาเรื่องภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและญี่ปุ่นที่ใช้ในการสื่อสารกับเพื่อนต่างชาติ ที่สำคัญคือได้รับมิตรภาพที่ดีจากเพื่อนๆ กลับมามากมาย ปัจจุบันก็ยังคอยช่วยเหลือและพูดคุยกันอยู่เสมอ
สรรค์ชัยในฐานะหัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของงาน “CU-HPAIR Asia Conference 2024” ที่ประเทศไทยโดยจุฬาฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปีนี้ กล่าวว่าการประชุมนานาชาติครั้งนี้จะได้พบปะพูดคุยกับเพื่อน ๆ ทั้งที่เคยเข้าร่วมงานประชุมมาแล้ว และผู้เข้าร่วมการประชุมคนใหม่ อยากให้ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ใช้ช่วงเวลา 5 วันเก็บเกี่ยวประสบการณ์ พัฒนาตัวเอง และได้รับความรู้ให้มากที่สุด งานประชุมครั้งนี้จะมอบความทรงจำที่ดี และประสบการณ์อันล้ำค่าอย่างแน่นอน
ด้าน ปรางใส ช้างเนียม (ปราง) นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาฯ เป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ อีกคนหนึ่งที่เข้าร่วมงาน HPAIR Asia Conference 2023 เนื่องจากความสนใจในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การได้เข้าร่วมงาน ACONF 2023 เป็นโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ “กิจกรรมต่างๆที่ได้เข้าร่วมประทับใจกับ Networking Event มากที่สุด มิตรภาพที่ได้รับจากงานนี้สร้างความประทับใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ปรางใสยังได้เข้าร่วมกิจกรรม Impact Challenge ซึ่งเธอได้รับรางวัลจากกิจกรรมนี้ด้วย
ในกิจกรรม Impact Challenge น้องปรางได้มีโอกาสนำเสนอแนวทาง การพัฒนาขอบเขตและความเชี่ยวชาญด้านการรายงานข่าวผ่านการใช้ AI ให้กับ South China Morning Post (SCMP) ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และการทำงานของทั้งกองบรรณาธิการและหน่วยงานอื่น ๆ ของ SCMP โจทย์ที่ได้รับมีความท้าทายเป็นอย่างมาก การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับเพื่อนร่วมทีมทำให้ได้แนวทางที่ครอบคลุมในทุกด้านทั้งการพัฒนา AI
ปรางใสเล่าถึงบรรยากาศในการทำงานในการเข้าร่วมการประชุมว่ามีความเข้มข้นมาก เนื่องจากแต่ละคนในทีมมีความรู้และประสบการณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความแตกต่างนี้คือจุดเด่นของ Impact Challenge ทำให้ได้เรียนรู้ที่จะเข้าถึงปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในมุมมองที่ต่างออกไป รู้สึกดีใจมากที่ได้รับรางวัลการแข่งขันในกิจกรรม Impact Challenge เพราะเวลาในการทำงานค่อนข้างสั้น รวมถึงการแข่งขันนี้มีทีมต่างๆ ที่เข้าร่วมมากกว่า 12 ทีม โดยมีคณะกรรมการการตัดสินใจจาก South China Morning Post ทำให้รู้สึกดีใจมาก
“งาน ACONF2023 เป็นโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เปิดมุมมองความคิดที่มีต่อประเด็นสังคมต่าง ๆ ทั่วโลก การได้แลกเปลี่ยนความคิดและทัศนคติกับผู้เข้าร่วมการประชุมจากนานาชาติทำให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็น Global Citizen และความสำคัญของประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมืองทั้งในและนอกประเทศ ปรางหวังว่าผู้เข้าร่วมการประชุม ACONF2024 จะได้รับประสบการณ์ที่ดีกลับไป และได้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมนานาชาติภายใต้ความร่วมมือของจุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่กลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้งในรอบ 27 ปี” ปรางใสกล่าวทิ้งท้าย
งาน “CU-HPAIR Asia Conference 2024” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างวันที่ 21 – 25 สิงหาคม 2567 เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นความภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ในการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
ผู้สนใจติดตามรายละเอียดและกิจกรรมต่างๆ ในงานได้ทางเว็บไซต์ https://www.hpair.org Instagram: @officialhpair / @cuhpair
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้