รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) ได้รับการจัดอันดับจาก QS Executive MBA (EMBA) Ranking ให้เป็น 1 ใน 5 ของสถาบันสอนบริหารธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก ในด้านความหลากหลาย (Diversity) ซึ่งการจัดอันดับ QS เป็นระบบการจัดอันดับมาตรฐานโลกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการประเมินมหาวิทยาลัยในหลายมิติทั้งความหลากหลายของนิสิตและคณาจารย์ ซึ่งตัวชี้วัดนี้ มีส่วนสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
นอกจากนี้ ศศินทร์ยังมีนโยบายด้านความหลากหลายที่เรียกว่า IDEALS หรือ การไม่แบ่งแยก (Inclusion) ความหลากหลาย (Diversity) ความเสมอภาค (Equity) และการเข้าถึงการเรียนรู้ที่ศศินทร์ (Access to learning at Sasin) ซึ่งครอบคลุมมากกว่าตัวชี้วัดจาก QS ทั้งนี้ได้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ ด้วยการส่งเสริมความเข้าใจด้านวัฒนธรรม การมองมุมกว้างเพื่อเตรียมให้นิสิตพร้อมทำงานในระดับสากล
ศาสตราจารย์ เอียน เฟนวิค (Ian Fenwick) ผู้อำนวยการศศินทร์ กล่าวว่า “การอยู่ใน 5 อันดับแรกในเอเชียในด้านความหลากหลายแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของเราในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ทุกคนมีส่วนร่วมและเปิดรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสําเร็จของนโยบาย “IDEALS” และแนวคิดด้านความหลากหลายที่นิสิตของเราจะได้เรียนรู้”
ผศ. ดร. ดรูว์ บี มัลลอรี่ (Dr. Drew B. Mallory) อาจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรของศศินทร์ (Sasin Assistant Professor of Organizational Behaviour) และ Inclusion Ambassador ของศศินทร์ ผู้อยู่เบื้องหลังนโยบายสนับสนุนความหลากหลาย การมีส่วนร่วมและความเสมอภาค ได้ริเริ่มจัดกิจกรรมมากมายทั้งภายในองค์กรและในชุมชน เช่น ศศินทร์ได้ร่วมมือกับ Steps ซึ่งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมในการเชื่อมโยงและการเตรียมความพร้อมในการเข้าทำงานให้กับผู้มีความแตกต่างทางการรับรู้ โดยร่วมกันก่อตั้ง ศูนย์วิจัย NWRC โดยศศินทร์ให้การสนับสนุนด้านงานวิจัยและให้คำปรึกษาให้แก่ศูนย์ NWRC ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลที่มีความแตกต่างทางการรับรู้ได้มีโอกาสเข้าถึงการทำงาน และเพิ่มการมีส่วนร่วมให้กับบุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ศศินทร์ยังได้ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจําประเทศไทย และ Workplace Pride เปิดตัว Inclusion Toolkit ชุดเครื่องมือที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียม และไม่แบ่งแยก ในสถานที่ทำงานสำหรับธุรกิจไทย เมื่อเร็วๆ นี้ “เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่เราได้ร่วมกันสร้างโอกาส (co-creating) กับพนักงานและนิสิตของเรา ซึ่งสะท้อนถึงหลักการและแนวคิดของศศินทร์ตั้งแต่แรกเริ่มที่เป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดกว้างต่อไอเดียใหม่ๆ รวมทั้งบุคคลต่างๆ เป็นสิ่งที่อาจท้าทายค่านิยม แต่ก็เป็นการก้าวสู่การเติบโต ผมถือเป็นเกียรติที่เราเป็นผู้นำด้านความหลากหลายในแวดวงการศึกษาและธุรกิจของประเทศไทย” ผศ. ดร. ดรูว์ บี มัลลอรี่ กล่าว
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงรับรองผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประชุมสามัญ ทปอ. ครั้งที่ 1/2568
อบรมเชิงปฏิบัติการ “S.M.A.R.T Communication: พัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์และบรรยากาศที่ดี”
ขอเชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาคณาจารย์ จุฬาฯ พ.ศ. 2568
3-10 มี.ค. 2568
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
1 มีนาคม 2568 เวลา 09.30-15.00 น. ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
พิธีบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จุฬาฯ อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นประดิษฐาน ณ โถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้