ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 3 โดยอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรออนไลน์บน Coursera ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เน้นบทบาทของ Generative AI ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “Using Generative AI to strengthen and speed learning” เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุมพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยได้รับเกียรติจาก Dr. Barbara Oakley ศาสตราจารย์ทางวิศวกรรมศาสตร์จาก Oakland University, Michigan สหรัฐอเมริกา ผู้สอนหลักสูตรออนไลน์ (MOOC) ที่มีชื่อเสียงระดับโลกในชื่อ “Learning How to Learn” บนแพลตฟอร์ม Coursera ซึ่งมีนักศึกษาร่วมลงทะเบียนกว่า 3.5 ล้านคนทั่วโลก เป็นผู้บรรยาย

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า บทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนอกจากการให้ความรู้ในห้องเรียนแล้ว จุฬาฯ ยังได้เผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนอีกด้วย การจัดงาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 3 มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ประชาชน นิสิตนักศึกษาเห็นความสำคัญของ Generative AI ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาการเรียนรู้ของทุกคน โดย Dr. Barbara Oakley ผู้บรรยายเป็นผู้สอนหลักสูตรออนไลน์บน Coursera ที่มีผู้ติดตามรับชมจำนวนมากติดอันดับโลก การบรรยายครั้งนี้จะกระตุ้นบรรยากาศของการเรียนรู้ในจุฬาฯ และประเทศไทย รวมทั้งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างแท้จริง

Dr. Barbara Oakley

Dr. Barbara Oakley ผู้บรรยายได้เน้นย้ำถึงศักยภาพของ Generative AI ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเฉพาะการใช้ AI ในการสร้างสรรค์และปรับเนื้อหาการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  Generative AI สามารถสร้างคำเปรียบเทียบ (metaphor) ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่ยากและซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำ AI มาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้

นอกจากนี้ Dr. Barbara Oakley ยังได้กล่าวถึงการใช้ ChatGPT ในการสนับสนุนการสอน โดยChatGPT สามารถช่วยครูผู้สอนในการสร้างบทเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน และยังช่วยให้ครูสามารถสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งาน Chulalongkorn University President’s Distinguished Speakers ครั้งที่ 3 เป็นความร่วมมือระหว่างคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ และ Coursera for campus โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Coursera ได้เริ่มความร่วมมือกันตั้งแต่ปี 2564 โดยเริ่มจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ล่าสุดได้ขยายความร่วมมือไปยังศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ การบรรยายพิเศษครั้งนี้เป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ และเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตและคณาจารย์ในการเผชิญกับความท้าทายในอนาคตด้วยความรู้และทักษะที่ทันสมัย

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า