ข่าวสารจุฬาฯ

เปิดตัวนิทรรศการ RUN 2024: RUN Towards Impact จุฬาฯ จัดแสดงสามผลงานวิจัยที่โดดเด่นสร้างผลกระทบต่อสังคม

          เครือข่ายพันธมิตรเพื่อมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University Network: RUN) เปิดตัวนิทรรศการผลงานวิจัย ภายใต้ธีม “RUN Towards Impact” ในพิธีเปิดงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมี ศ.ดร.ดอกรัก มารอด ประธานเครือข่ายพันธมิตรเพื่อมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University Network: RUN) กล่าวรายงาน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดบูทนิทรรศการ และ ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ เป็นตัวแทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมพิธีเปิดนิทรรศการ

ศ.ดร.ดอกรัก มารอด
ประธานเครือข่ายพันธมิตรเพื่อมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University Network: RUN)
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์
ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ

          “RUN Towards Impact” จัดแสดงผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบทางด้านวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอผ่านแนวคิด “SDG” ที่ย่อมาจาก S-Soft Power การผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดในเชิงสร้างสรรค์ D-Deep Science and Technology การวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เชิงลึก ด้วยเทคนิคที่ก้าวหน้า และการค้นคว้าที่ท้าทายความรู้ความสามารถ และ G-Global Trends ผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตโลก การดำเนินชีวิต เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดแสดงผลงานวิจัยในนิทรรศการจำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ “ฟิล์มใสลดสิวชนิดเกิดเป็นแผ่นฟิล์มบนผิวจากสารสกัดเปลือกกล้วยหอมทองปทุม” ของคุณบัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ จากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ “ชุดตรวจสอบสัตว์ต้องห้ามแบบรวดเร็วในผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล” ของ ศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล จากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ และ “นวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศโกโก้” ของ ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน จากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ

เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network: RUN) ประกอบด้วย 8 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นความร่วมมือของกลุ่มอุดมศึกษาที่ใช้พื้นฐานความจริงใจ ความเท่าเทียม และความเป็นเลิศ หรือเรียกว่า “SEXy way” (Sincerely, Equally, Excellently) ที่ทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนางานวิจัยของประเทศ

มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2567 ที่ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงานได้ที่ https://researchexporegistration.com/home

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า