รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 สิงหาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว Chula MOOC Flexi โครงการโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล (Digital Lifelong Learning Solutions for all) สามารถสะสมหน่วยกิตได้ตามความสะดวก ด้วยการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่น ปรับเวลาและทางเลือกให้เหมาะสมกับผู้เรียน ตอบโจทย์ทักษะแห่งอนาคต เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะด้านดิจิทัลแก่ผู้เรียนทุกกลุ่ม นิสิต นักศึกษา บุคลากร รวมถึงผู้ที่สนใจจะพัฒนาทักษะดิจิทัล
งานแถลงข่าวเปิดตัว Digital Lifelong Learning Solutions for all “Chula MOOC Flexi” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ณ ห้องประชุม 801 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการฯ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวรายงาน นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ รศ.ประมา ศาสตระรุจิ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กล่าวแสดงความยินดีและสนับสนุนโครงการ จากนั้น รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล พร้อมด้วย รศ.ดร.อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และอาจารย์ผู้สอนในโครงการฯ นำเสนอแพลตฟอร์ม Digital Lifelong Learning Solutions for all “Chula MOOC Flexi”
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “การเสริมสร้างทักษะดิจิทัลเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลักสูตร “Chula MOOC Flexi” เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเตรียมความพร้อมด้าน Digital & AI Literacy ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงบุคลากร หน่วยงานภาครัฐ และประชาชน ในการเผชิญกับความท้าทายของยุคดิจิทัล “Chula MOOC Flexi” ไม่ได้เป็นเพียงแค่การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานในตลาดงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้เหล่านี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้าได้
“จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล โดยผลิตบุคลากรที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ การเรียนรู้และทักษะต่าง ๆ ไม่ใช่เพียงความรู้ในอดีต แต่เป็นการสร้างและเข้าใจองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ความรู้อาจล้าสมัยได้ แต่ความฉลาดไม่ล้าสมัย จุฬาฯ มีบทบาทในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเสริมสร้างภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน” ศ.ดร.วิเลิศ กล่าว
ในงานมีการเสวนา “เปิดโลกการศึกษา : การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นด้วย Chula MOOC Flexi” โดย ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รศ.ภก.ดร.อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รองผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผศ.ดร.พลรพี ทุมมาพันธ์ รองเลขาธิการคุรุสภา รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณสมภพ สันติวัฒนกุล ผู้อำนวยการฝ่าย Corporate Strategy and Innovation Division (CSI.) ธนาคารกสิกรไทย
รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้รักษาการผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล เปิดเผยว่า “โครงการมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมคนไทยให้พร้อมสำหรับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างทักษะดิจิทัล การพัฒนาความสามารถในการทำงาน หรือการยกระดับการแข่งขันในระดับสากล หลักสูตรพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงในชีวิตการทำงาน และยังสามารถเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่น สะดวกต่อการจัดการเวลาและสถานที่ของผู้เรียนเอง”
โครงการโซลูชันการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล (Digital Lifelong Learning Solutions) เพื่อพัฒนาความรู้เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัลในฐานะกำลังแรงงานคุณภาพของประเทศ” ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อผลิตเนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับ Digital & Artificial Intelligence (AI) Literacy ร่วมพัฒนาหลักสูตรกับผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลบนแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัล Chula Neuron สำหรับผู้เรียนทุกกลุ่ม นิสิต นักศึกษา บุคลากร รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจจะพัฒนาทักษะดิจิทัล มีการเปิดสอนทั้งหมด 28 คอร์สเรียน และ 8 ชุดรายวิชาศึกษาทั่วไป ดังนี้
รูปแบบการเรียน เรียนออนไลน์ด้วยตนเอง (Self-Online Learning) ผ่านแพลตฟอร์ม Chula Neuron เข้าร่วมสัมมนา online หรือ onsite เพื่อสะสมชั่วโมงการเรียนรู้ ทั้งนี้สามารถสอบวัดผลการเรียน เพื่อรับใบรับรองและเกียรติบัตรสำหรับผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาและสอบผ่านตามเกณฑ์ในแต่ละวิชา
การสะสมหน่วยกิต ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตจากการเรียนในโครงการนี้ และเทียบโอนเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โดยต้องเรียน และสะสมชั่วโมงการเรียนไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงในแต่ละรายวิชา
ทั้งนี้มีการวางแผนร่วมกับโครงการ Thai MOOC กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อผลิตเนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับ Digital & Artificial Intelligence (AI) Literacy บนแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัล Chula Neuron ในอนาคต
“โครงการนี้เป็นนวัตกรรมทางด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่จะช่วยสร้างความสามารถในการจ้างงานตลอดชีพ (Lifetime Employability) ให้กับประชาชนคนไทยทุกคน และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ของประเทศในเวทีโลก” รศ.ดร.สุวิธิดา กล่าวทิ้งท้าย
รศ.ดร.อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และอาจารย์ผู้สอนในโครงการฯ กล่าวเสริมว่าแพลตฟอร์มนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างศักยภาพด้านดิจิทัลและ soft skill ให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ เพื่อพัฒนากำลังแรงงานคุณภาพที่มีความรู้ความสามารถสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่นและสะดวก เพื่อให้พร้อมรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และมีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่างๆ ในโครงการ Chula MOOC Flexiและติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://cuneuron.chula.ac.th/cumooc-flexi สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร: 0-2218-3919, 0-2218-3826
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้