ข่าวสารจุฬาฯ

21st Century GenEd สร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จำเป็นอย่างไรกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ ตอบรับการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ พร้อมที่จะขับเคลื่อนไปสู่การศึกษาแห่งอนาคต โดยจัดการเรียนการสอนใน “หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป” หรือ “General Education (GenEd)” ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาที่ช่วยในการเสริมทักษะชีวิต เพื่อเติมเต็มให้แต่ละวิชาชีพมีความรู้รอบ รู้ทัน เป็นผู้นำ และพร้อมที่เป็นพลเมืองที่ดีในสังคม

รายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป เน้นทักษะที่นิสิตต้องการ เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, สุขภาพกายและสุขภาพจิต, นันทนาการและการท่องเที่ยว, การเตรียมพร้อมสู่การทำงาน, การดำเนินชีวิตประจำวัน, ความเป็นไทย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้จะกระจายอยู่ใน 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มมนุษยศาสตร์, กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, กลุ่มสังคมศาสตร์ และกลุ่มสหศาสตร์ ตามที่ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตร ทั้งนี้ศูนย์การศึกษาทั่วไปได้จัดให้มีโครงการ “การศึกษาทั่วไปในศตวรรษที่ 21  (The 21st Century General Education; 21st GenEd)” ขึ้นตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา

รายวิชาในกลุ่ม 21st GenEd มีความแตกต่างจากรายวิชาการศึกษาทั่วไปในด้านรูปแบบของการสอนและการประเมิน เช่น การลดเวลาเรียนในห้องเรียนแต่เพิ่มเวลาคิดและฝึกทักษะ (Active learning) การใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนด้วยระบบ Learning Management System (LMS) เช่น Blackboard, CourseVille และ MOOC ในการจัดการเรียนการสอน, นิสิตสามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องกังวลเรื่องเกรดเนื่องจากมีวิธีการวัดผลแบบ S/U และที่สำคัญคือสามารถนำเอาไปนับหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตรได้เหมือนกับวิชาอื่นๆ ปัจจุบันมีจำนวนรายวิชาให้เลือกเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล้วนแต่เป็นวิชาที่ผสมผสาน กลมกลืน และเป็นเนื้อเดียวอย่างเป็นระบบกับหมวดวิชาหลักและวิชาเฉพาะ เช่น การนำเสนออย่างมืออาชีพ (PROF PRESENTATION), การออกแบบความคิดสำหรับนวัตกรรมทางธุรกิจ (DESIGN THINK INNO), วิทยาศาสตร์ข้อมูลเบื้องต้น (INTRO DATA SCIENCE), แฟชั่นและการสื่อสารในโลกร่วมสมัย (FASN COMM) และคนรักสัตว์เลี้ยง (PET LOVERS) เป็นต้น และยังมีบางรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปปรับมาเป็นกลุ่มวิชา NextGen ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาในกลุ่ม 21st GenEd โดยมีกระบวนการสอนที่คล้ายกัน แต่ความพิเศษคือ นิสิตสามารถเลือกวิธีการวัดผลแบบ Letter grade หรือ S/U ก็ได้

การปรับเนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นไปตามบริบททางสังคม เพื่อสร้างนิสิตจุฬาฯ ให้เป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่พร้อมกับการทำงาน และการใช้ชีวิตในโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นพันธกิจของศูนย์การศึกษาทั่วไป  จุฬาฯ ซึ่งโครงการนี้จะสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือและความเข้าใจในเป้าหมายจากประชาคมจุฬาฯ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่พร้อมจะสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ไปพร้อมๆ กัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

                ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ
                โทรศัพท์ 0-2218-3914
                โทรสาร 0-2218-3916
                อีเมล gened@chula.ac.th
                http://www.gened.chula.ac.th/

 

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า