รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
31 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2567 ภายใต้ CU SCI SHARING for Society โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ณ โถงอาคารมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน จากนั้นนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และลงมือปฏิบัติจริงในฐานกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งสิ้น 13 ฐานกิจกรรม จาก 13 ภาควิชาในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโครงการเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการปลูกฝังแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์และกระบวนการใช้เหตุผลให้กับเยาวชนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเจตคติที่ดีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ให้กับเยาวชน มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จากโรงเรียนในชุมชนรอบจุฬาฯ เข้าร่วมโครงการ 147 คน จาก 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดดวงแข โรงเรียนวัดสวนพลู โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์ โรงเรียนวัดสุทัศน์ โรงเรียนวัดหัวลำโพง และโรงเรียนสวนลุมพินี นับเป็นกิจกรรมของจุฬาฯ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
ทั้งนี้ หลังจากพิธีเปิดโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก จุฬาฯ ปี 2567 ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดห้องละหมาด ที่อาคารมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ ผู้รักษาการรองอธิการบดีด้านกิจการนิสิต จุฬาฯ และ ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมในพิธี
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เล็งเห็นความสำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจของผู้นับถือศาสนาอิสลาม จึงปรับปรุงพื้นที่ภายในคณะวิทยาศาสตร์ให้เป็นห้องละหมาดสำหรับนิสิตและบุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์ และผู้นับถือศาสนาอิสลามในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในสิ่งแวดล้อมหลากวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิด Chula Togetherness โดยห้องละหมาดเปิดให้บริการ วันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.00 – 17.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ Sensory Play เสริมประสบการณ์รับรู้สัมผัส สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี
5 พ.ย. 67 เวลา 10.00 - 12.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้