รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
รหัท หลงสมบูรณ์ นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล “นักศึกษารางวัลพระราชทาน” ประจำปีการศึกษา 2566 ประเภทนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชนที่ไม่เพียงแต่ทุ่มเทให้กับการเรียน แต่ยังใช้ความรู้และความสามารถในการพัฒนาสังคม มุ่งมั่นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
รหัท หลงสมบูรณ์ เปิดเผยว่า รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลพระราชทานในปีนี้ ซึ่งเป็นเกียรติสูงสุดที่นิสิตคนหนึ่งได้รับ “นักศึกษารางวัลพระราชทาน” ไม่เพียงแต่เป็นการยกย่องความสามารถทางวิชาการและความเป็นผู้นำ แต่ยังเป็นการสะท้อนถึงการสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัว อาจารย์ และเพื่อนๆ ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประสบความสำเร็จ รางวัลนี้สร้างแรงบันดาลใจให้เดินหน้าต่อไปเพื่อทำสิ่งที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติ
รางวัล “นักศึกษารางวัลพระราชทาน” ผู้ได้รับรางวัลไม่ได้เพียงแค่การเรียนเก่งหรือดูจากผลการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่เน้นถึงการเป็นนิสิตนักศึกษาที่ดี สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ ซึ่งรหัทเชื่อว่าการเรียนรู้ควรจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม ไม่ใช่เพียงการสะสมความรู้เพื่อตนเองเท่านั้น การได้รับรางวัลนี้เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และเป็นการย้ำเตือนว่าการศึกษาและการพัฒนาตนเองควรมีเป้าหมายที่การสร้างประโยชน์ให้กับสังคมด้วย
ก่อนหน้านี้ รหัทได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมาย เช่น รางวัลเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ด้านพัฒนาเยาวชน และโล่ประกาศเกียรติคุณนิสิตแพทย์ดีเด่นเชิงคุณธรรมและจริยธรรม ฯลฯ รางวัลเหล่านี้แสดงถึงความสามารถและความทุ่มเทด้านการศึกษาและการพัฒนาสังคม นอกจากนี้รหัทยังได้รับรางวัลผู้ทำชื่อเสียงและคุณประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยในด้านบริหาร ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นผู้นำและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ยืนยันว่าความพยายามที่มีคุณค่า ส่งผลให้ก้าวไปสู่การได้รับรางวัลพระราชทานในที่สุด
รหัทได้รับคัดเลือกเป็นนายกสโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประจำปี 2565 การทำงานด้วยใจรักและความสุขที่ได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญที่สุด ทำให้สามารถเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคต่างๆ นอกจากนี้การได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการทำงานด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีต่อสังคมในอนาคต โดยเฉพาะการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้องและการสร้างโอกาสให้เยาวชนได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น
“ผมภาคภูมิใจในทุกกิจกรรมที่มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนาโครงสร้างของสโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และการทำงานร่วมกับเพื่อนนิสิตเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีต่อสังคม การได้เห็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานยังคงเติบโตและพัฒนาต่อไปในรุ่นหลัง และได้เห็นรุ่นน้องที่สืบทอดและพัฒนากิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องทำให้รู้สึกว่าความทุ่มเทพยายามที่ผ่านมามีความหมายและส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมในอนาคต” รหัท นิสิตแพทย์จุฬาฯ เผยถึงความรู้สึกจากการทุ่มเททำกิจกรรมที่ผ่านมา
รหัทเชื่อมั่นว่าคนรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม และมองว่าคนรุ่นใหม่ต้องมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และลงมือทำเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่จะทำให้สังคมดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การมีจิตอาสาและการทำกิจกรรมเพื่อสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมมากขึ้น การสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใหญ่โต แต่สามารถเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ที่เราทำทุกวัน การมีจิตอาสาและความกล้าในการช่วยเหลือผู้อื่นจะทำให้สังคมของเราดีขึ้นได้ในระยะยาว
ปัจจุบันรหัทปฏิบัติงานและเรียนต่อเฉพาะทางอยู่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในฐานะบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในวันที่ 2 ตุลาคมนี้
“จุฬาลงกรณ์ x โนโว นอร์ดิสค์” ยกระดับการจัดการโรคอ้วนด้วยนวัตกรรม
จุฬาฯ จัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567
จุฬาฯ จัดงาน “สงกรานต์รวมใจ วิถีไทย จุฬาฯ สืบสานประเพณี”
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ระบบทวิภาค
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ใจนิ่ง…ในวันที่โลกไม่แน่นอน : จิตวิทยาในการรับมือภัยพิบัติ”
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้