ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัล “ผลงานนวัตกรรมอุดมศึกษา 2567”

          นิสิตจุฬาฯ ได้รับ 10 รางวัลจากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2567 ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024)” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

          “ผลงานนวัตกรรมอุดมศึกษา 2567” ที่นิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลทั้ง 10 ผลงาน ได้แก่

ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

  • รางวัลเหรีบญเงิน (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “กรีนการ์ด: สารกำจัดศัตรูพืชจากขยะเปลือกหอยแมลงภู่สำหรับเกษตรยั่งยืน” โดย Carlito P. Basay} Jr., น.ส.ดวงเดือน กิ่งภาร และ Mr.Jira Patthanavarit จากคณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และ ดร.นิตยา แก้วแพรก)

ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์

  • รางวัลระดับดีมาก (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “เบาะรองนั่งสุขภาพ “ซิตแอนด์ฟิต” เพื่อป้องกันโรคปวดหลังในผู้ที่นั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน (โรคออฟฟิศซินโดรม)” โดยนางสาวศิรินันท์ จันทร์หนัก จากคณะสหเวชศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.ประวิตร เจนวรรธนะกุล)

ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และ BCG Economy Model

  • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมสิ่งทอหมุนเวียนจากเศษเหลือทิ้งเปลือกทุเรียนสู่สินค้าเครื่องแต่งกายต้านเชื้อแบคทีเรีย” โดย น.ส.อุษา ประชากุล จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล)
  • รางวัลเหรีบญทอง (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมสิ่งทอโครงสร้างผ้า 2 ด้าน (Double Weave) จากการผสมเส้นใยกัญชง (Hemp) เส้นใยเทนเซล (Tencel) และเส้นใยฟิลลาเจน (Filagen) ที่ได้จากกรรมวิธีนี้” โดยนายสุวิธธ์ สาดสังข์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล)
  • รางวัลเหรีบญทอง (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “หนังสังเคราะห์จากกากกาแฟ” โดยนางสาวปิ่นรัฐ ปิ่นเวหา จากบัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.ศิริลักษณ์ พุ่มประดับ)
  • รางวัลเหรีบญเงิน (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “อีเอสเอ็ม-เปป: สารละลายเปปไทด์จากเยื่อเปลือกไข่เพื่อการเกษตรยั่งยืน” โดย น.ส.ดวงเดือน กิ่งภาร จากคณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และ ดร.นิตยา แก้วแพรก)

ด้านคุณภาพชีวิตและ Soft Power

  • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยบัวหลวงผ่านกระบวนการพลาสมา” โดยนายเอกศิษฏ์ มีประเสริฐสกุล จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล)
  • รางวัลเหรียญทองแดง (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง STEAM Story” บอร์ดเกมสำหรับการเรียนรู้และฝึกทักษะการวางแผนการสอนแบบบูรณาการตามแนวคิดสะตีมศึกษา”  โดยนางสาวณัชชา เจริญชนะกิจ และนายสุชาติ อิ่มสำราญ จากคณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์)
  • รางวัลเหรียญทองแดง (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “วินด์ วินด์: ชุดสิ่งประดิษฐ์แห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเล่นเครื่องดนตรีลมทองเหลือง” โดยนายชนากร แป้นเหมือน จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา: ศ.ดร.วีรชาติ เปรมานนท์)
  • รางวัลเหรียญทองแดง (ระดับปริญญาตรี) ผลงานเรื่อง “โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นที่ได้แรงบันดาลใจจากผ้าซิ่นลายนางหาญ” โดย น.ส.พีรญา คำเหลือ จากคณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา:  ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์)


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า