ข่าวสารจุฬาฯ

ทิศทางการขับเคลื่อน Soft Power ด้านวัฒนธรรมของประเทศไทย

ในช่วงปี 2023-2024 ที่ผ่านมา ดร.มยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง Project Director Sasin Management Consulting สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาฯ ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมในการจัดทำแผนขับเคลื่อน Soft Power ในมิติด้านวัฒนธรรมของประเทศ ดร.มนุขพันธุ์จึงได้สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อน Soft Powerโดยแผนฉบับนี้มีการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยกรอบแนวคิดในการรวบรวมข้อมูลทั้งแบบภายนอกสู่ภายใน (Outside in) เพื่อเปิดกว้างรับมุมมองต่างๆ และแบบภายในสู่ภายนอก (inside out) เพื่อค้นหาความเป็นไทยที่ควรถูกผลักดัน

โดยในส่วน Outside in จะประกอบด้วยการสำรวจความคิดเห็นชาวต่างชาติ 12 ประเทศ 7 ภูมิภาคทั่วโลกจำนวน 3,600 ตัวอย่าง และการศึกษา Best practices ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อน Soft Power อาทิ ญี่ปุ่นที่มี Campaign Cool Japan ผ่าน มังงะ อาหาร หรือเกาหลีที่มี Hallyu (Korean wave) ผ่าน Kpop Kbeauty Kfood เป็นต้น หรือประเทศอังกฤษที่โดดเด่นเรื่องฟุตบอลและการศึกษา เป็นต้น ในขณะที่การรวบรวมข้อมูลแบบ inside out จะมาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 21 ท่าน และมีการจัดประชุมกลุ่มเป้าหมายในแต่ละภูมิภาคจำนวน 7 ครั้งเพื่อรวบรวมปัญหาอุปสรรคและการสนับสนุนที่ต้องการ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมดังกล่าวได้ถูกนำมาจัดทำการวิเคราะห์ SWOT โดยจัดกลุ่มตามประเด็นสำคัญ 4 ด้านได้แก่ ทุนทางวัฒนธรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม การโน้มน้าว และโครงสร้างพื้นฐาน

จากการวิเคราะห์ SWOT สามารถสรุปประเด็นเชิงกลยุทธ์ของ Soft Power ประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่ม          

1) Strategic Advantage ที่เกิดจากจุดแข็งที่โดดเด่นของไทยคือการมีทุนทางวัฒนธรรมที่หลายหลายตอบโจทย์ใน segment กลุ่มต่างๆ ได้คลอบคลุม รวมถึงคนไทยมีคุณลักษณะที่เป็นที่ชื่นชอบ เช่น มีความเป็นมิตร เปิดกว้าง ยอมรับในความแตกต่าง

 2) Strategic Challenges อันเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวทั้งในและต่างประเทศ  ปัญหาภาพลักษณ์เชิงลบบางประการของประเทศ เช่นด้านความปลอดภัยและการหลอกลวงนักท่องเที่ยว รวมถึงทัศนคติของผู้มีส่วนได้เสียโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ยังขาดความเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นในจะถูกนำมาให้เกิดเป็นอาชีพที่เลี้ยงตัวเองได้ทำให้ขาดความสนใจ รวมถึงยังมีประเด็นความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและระบบ ecosystem

3) Strategic opportunities จากการสำรวจ Global Survey พบว่ามีประเทศใหม่ๆ สำหรับ Soft Power ไทย อาทิ กลุ่มตะวันออกกลางที่มีทัศนคติที่ดีต่อไทยและมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี นอกจากนี้ควรส่งเสริมการสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ การส่งเสริมการประกวดรางวัล design นระดับนานาชาติ รวมถึงการส่งเสริม Food tech Travel tech และอีกประเด็นคือการใช้ประโยชน์ช่องทาง Social media ecommerce และ streaming platform ต่างๆ เพื่อสร้างกระแสให้ Soft Power ไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้น

จากประเด็นเชิงกลยุทธ์ข้างต้น ดร.มยุขพันธุ์ได้สังเคราะห์ข้อมูลและสามารถสรุปเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน 4 ด้านได้แก่

  • การเสริมสร้างระบบนิเวศเพื่อการสนับสนุนการขับเคลื่อน Soft power (Strengthen Ecosystem) ตั้งแต่ต้นน้ำที่เกี่ยวข้องกับทุนทางวัฒนธรรม การสร้างมูลค่าเพิ่ม และช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โดยมีโครงการขับเคลื่อนสำคัญ ได้แก่ การขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมเพิ่มเติม โครงการ 1 อำเภอ 1 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ และการสร้าง one stop service สำหรับผู้ประกอบการ
  • การปรับเปลี่ยนผู้คน (Transform people) โดยการสร้างประสบการณ์ตั้งแต่ระดับเยาวชน เพิ่มความรู้ทักษะให้ประชาชน รวมถึงสร้างเส้นทางอาชีพที่เข้มแข็งเลี้ยงดูตัวเองได้ โดยมีโครงการสำคัญ อาทิเช่น การสร้าง playground อาชีพด้าน Soft Power ให้กับเยาวชน หลักสูตรอาชีพ soft Power สำหรับประชาชน และการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานเพื่อเส้นทางอาชีพและถ่ายทอด know how
  • การเสริมสร้างภาพลักษณ์ประเทศ (Build trust and reputation) โดยเสริมประเด็นเชิงรับ เช่น เรื่องความปลอดภัยและความซื่อตรงกับนักท่องเที่ยว รวมถึงประเด็นเชิงรุกโดยนำ trend ความเป็นสากลต่างๆ เช่น Sustainability และ diversity เข้ามาผนวกในการนำเสนอ soft Power ไทย
  • การผลักดัน Soft Power ไทยสู่สากล (Inspire the world) โดยการผลักดันอุตสาหกรรมเรือธง (Flagship sectors) ได้แก่ ภาพยนตร์และดนตรี ที่เป็นจุดในการสร้างฐาน fan club และสามารถผนวก Sectors ศักยภาพอื่นๆ เข้าไปได้ง่าย รวมถึงการส่งเสริมการประกวดรางวัลระดับนานาชาติใน Sector ศักยภาพต่างๆ และการรุกตลาดใหม่ผ่านการสนับสนุน Influencers ของประเทศดังกล่าวให้เข้ามาทำ content ในประเทศไทย และการเป็นศูนย์กลางจัดงานระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่ความเป็นไทยสู่สากล

โดยสรุปแล้ว ดร.มยุขพันธุ์เชื่อว่าแผนฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญและเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนและการยกระดับการบูรณาการการขับเคลื่อนทั้งในระดับประเทศ เพื่อให้ Soft Power สามารถสร้าง fan club ประเทศไทยและตั้งเป้าการขับเคลื่อนมูลค่า Soft Power ไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในปี 2570 โดยลำดับถัดไปควรมีแผนขับเคลื่อนราย sector ทั้ง 11 สาขา เพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า