ข่าวสารจุฬาฯ

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือประเทศญี่ปุ่น เสริมสมรรถภาพโครงสร้างพื้นฐานไทย พร้อมรับมอบระบบทดสอบความล้ามูลค่า 19 ล้าน

            คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเสริมสมรรถภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย (The Project for Technology Development on Life Time Management of Road and Bridge for Strengthening Resilience in Thailand) ความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมทางหลวง และมหาวิทยาลัยวาเซดะ ญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และ Japan Science and Technology Agency (JST)

            งานแถลงข่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ณ ห้อง Auditorium TRUELAB อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน จากนั้นนายพลเทพ  เลิศวรวนิช ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง Mr. Ryoichi Kawabe, Senior Representative, JICA Thailand office กล่าวถึงความร่วมมือในโครงการนี้ ภายในงานมีพิธีรับมอบระบบทดสอบความล้า มูลค่า 19 ล้าน สำหรับวัดความทนทานในการรับแรงกระแทกของวัสดุโครงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้าง โดยมี Prof. Dr. Sato Yasuhiko, roject Investigator, Waseda University ศ.ดร.เกษม ชูจารุกุล หัวหน้าภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.พูลศักดิ์ เพียรสุสม ผู้อำนวยการโครงการ ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมในพิธีรับมอบครั้งนี้ และมีการทดลองการใช้งานระบบทดสอบความล้าด้วย

นายพลเทพ  เลิศวรวนิช
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวง
Mr. Ryoichi Kawabe
Senior Representative, JICA Thailand office

            รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงโครงการ The Project for Technology Development on Life Time Management of Road and Bridge for Strengthening Resilience in Thailand ว่าโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และ Japan Science and Technology Agency (JST)  ซึ่งเป็นองค์กรหลักจากประเทศญี่ปุ่น มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและเสริมสมรรถภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทย เพื่อเพิ่มความทนทานของโครงสร้างถนนและสะพานในประเทศให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 5 ปี (เมษายน 2565 – มีนาคม 2570)  ภายใต้โครงการนี้ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น โครงการเสริมกำลังสะพานในบริเวณลาดพร้าวและบางวัว ซึ่งเป็นความร่วมมือกับกรมทางหลวง นอกจากนี้ยังมีทุนสำหรับนิสิตและบุคลากรเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการส่งต่อเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่างๆ อีกด้วย

            สำหรับระบบทดสอบความล้าของวัสดุ หรือเครื่อง Actuator มูลค่ากว่า 19 ล้านบาทนั้น รศ.ดร.วิทยากล่าวว่าเครื่องนี้สามารถนำไปใช้ใช้ในการทดสอบความทนทานของวัสดุที่ต้องรับแรงกระแทกหรือน้ำหนักซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น คานคอนกรีต หมอนรองรถไฟ และวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ในงานโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องนี้ไม่เพียงแต่ใช้ในโครงการเท่านั้น แต่ยังสามารถให้บริการทดสอบวัสดุในทางวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น กรมทางหลวงหรือบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ก็สามารถขอใช้บริการในการทดสอบวัสดุเพื่อเสริมความแข็งแกร่งและความปลอดภัยในงานก่อสร้างได้

            คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้เปิดโอกาสให้กับนิสิต นักวิจัย รวมถึงกลุ่มผู้สนใจในด้านโครงสร้างพื้นฐานและวิศวกรรม โดยเราได้จัดสรรทุนการศึกษาและโอกาสในการศึกษาต่อในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมและจัดกิจกรรมวิชาการที่เปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง

เครื่อง Actuator ทดสอบความล้าของวัสดุ 

            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมียุทธศาสตร์มุ่งเน้นการสร้างผู้นำแห่งอนาคตและการวิจัยที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม โครงการนี้เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมชั้นนำ โดยการนำงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิศวกรรมมาใช้แก้ปัญหาในระดับโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร โครงการนี้มีส่วนสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ผ่านการมีส่วนร่วมของนิสิตและบุคลากรในกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

            “โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการนำความรู้ทางวิศวกรรมมาใช้แก้ปัญหาในระดับประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตในการเรียนรู้และทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงและเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสามารถประเมินและวัดผลที่เกี่ยวข้องกับ World Impact Ranking ได้อย่างรวดเร็ว” คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย


จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า