ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัล “ผลงานนวัตกรรมอุดมศึกษา 2562” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562

ผลงานนวัตกรรมของนิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลการประกวด “ผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2562” ในงาน“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2562” (Thailand Research Expo 2019) จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ได้แก่

รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการ การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2562 กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร รางวัลระดับดี ผลงานเรื่อง การรวมทุกขั้นตอนในอุปกรณ์ฐานกระดาษเพียงชิ้นเดียวสำหรับการวิเคราะห์สารหนูในข้าว”

รางวัลผลงานนวัตกรรม การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2562 กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร รางวัลระดับดีเด่น ผลงานเรื่อง “การรวมทุกขั้นตอนในอุปกรณ์ฐานกระดาษเพียงชิ้นเดียวสำหรับการวิเคราะห์สารหนูในข้าว” และกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศิลปะการออกแบบ รางวัลระดับดีเด่น ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ตรวจวัด PM2.5 ด้วยสมาร์ตโฟน”

การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้าง พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย และพัฒนาการประดิษฐ์คิดค้นในสถาบันการศึกษา กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เข้าใจ รวมถึงเห็นความสำคัญของการวิจัยและนวัตกรรม โดยในปี 2562 มีผลงานส่งเข้าร่วมประกวดจำนวน 135 ผลงานจากสถาบันอุดมศึกษา 40 สถาบัน ซึ่งปีนี้มีผลงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมจัดแสดงทั้งสิ้น 12 ผลงาน ได้แก่

  • กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
    • การรวมทุกขั้นตอนในอุปกรณ์ฐานกระดาษเพียงชิ้นเดียวสำหรับการวิเคราะห์สารหนูในข้าว
    • อุปกรณ์ตรวจวัดฐานกระดาษร่วมกับการตรวจวัดเชิงสีสำหรับการตรวจวัดฟอสฟอรัสในดินและน้ำ
  • กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
    • ซอสปรับสมดุลไขมันโอเมก้าสำหรับเมนูผัดกะเพรา
    • เส้นใยไมโครไฟบิลเซลลูโลสจากแบคทีเรียที่ตกแต่งด้วยซิงค์ออกไซด์ควอนตัมดอทเพื่อกำจัดสารตกค้างในผักผลไม้
    • นวัตกรรมอาหารเสริมด้านการเกิดนิ่วในปัสสาวะ : ไฮโดรซิทลา
    • นวัตกรรมชุดตรวจวินิจฉัยโรคนิ่วในปัสสาวะด้วยการวัดปริมาณแคลเซียมออกซาเลต (iCOCI) ในปัสสาวะ
  • กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ศิลปะการออกแบบ
    • อุปกรณ์ตรวจวัด PM2.5 ด้วยสมาร์ตโฟน
    • นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน
    • การพัฒนาแผ่นซิลิโคนให้ความร้อนเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
    • นวัตกรรมชุดกิจกรรมที่ถ่ายทอดสุนทรียะของศิลปหัตถกรรมภาคใต้
    • โมเดลในการออกแบบการแต่งกายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ช ให้เหมาะสมกับโอกาสการสวมใส่ตามคอลเลคชั่นฤดูหนาวปี พ.ส.2562 สำหรับสตรีเจนเนอเรชั่นเอเชีย
  • กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • โคคูน : รังไหมกันกระแทก

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า