รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดโครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์” เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 ณ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ พระสงฆ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา โดยมี ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.กนกพร บุญศิริชัย รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ ในการนี้ พระราชวชิรากร เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ประธานฝ่ายสงฆ์ กล่าวนำสัมโมทนียกถา
โครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์” ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วยการบรรยายและการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถวายความรู้จากการวิจัยแด่สังฆาธิการ คณะสงฆ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ 50 รูป สาธิตการเตรียมวัสดุเพื่อใช้ทำความสะอาดพระพุทธปฏิมา จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาเชิงช่างโบราณที่ใช้วัสดุจากท้องถิ่นในประเทศไทย โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้บูรณาการความรู้ด้านพุทธศิลป์กับเทคโนโลยีนิวเคลียร์โดยความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นับเป็นก้าวสำคัญยิ่งในการบูรณาการความรู้เพื่อรักษาภูมิปัญญาของชาติให้ยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.จีราวรรณ แสงเพ็ชร์ หัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้บุกเบิกโครงการเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาพุทธศิลป์มาอย่างต่อเนื่อง
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเป็นศาสนสถานสำคัญของชาติ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาที่สำคัญคือพระศรีอริยเมตไตรยหรือพระอนาคตพระพุทธเจ้า หล่อด้วยสำริด จากการสำรวจและพิจารณารูปแบบพุทธศิลป์พบว่าพระศรีอาริยเมตไตรย วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นผลงานศิลปกรรมชิ้นเอกสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีรูปแบบและเทคนิคเชิงช่าง นำไปสู่การศึกษาวิจัยเชิงลึกและการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบศิลปกรรม โดยความร่วมมือจากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตลอดจนการอนุรักษ์พระพุทธปฏิมาด้วยภูมิปัญญาเชิงช่างเทคนิคโบราณที่ใช้วัสดุจากท้องถิ่นในประเทศไทย
ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้วิเคราะห์พระพุทธปฏิมาด้วยเทคนิคการวาวรังสีเอกซ์ X-ray fluorescence (XRF) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุส่วนผสมในการหล่อพระพุทธปฏิมา โดย ดร.ศศิพันธุ์ คะวีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมทั้ง พล.ต.รศ.ดร.สุรัตน์ เลิศล้ำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสหวิทยาการเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ พลเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ถวายความรู้เรื่องการทำจัดแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อแสดงสิ่งปลูกสร้างและอาณาบริเวณของวัด นับเป็นการบูรณาการศาสตร์ชั้นสูงในแขนงต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้