รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
15 ก.ย. 67
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต)
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (UDDC-CEUS) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ ในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2567 เวลา 06.30 – 13.00 น. ณ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต) โดยมี รศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC-CEUS) ผู้จัดการย่าน THE SOUTH SUKHUMVIT กล่าวรายงาน และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงาน
UDDC-CEUS มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง สร้างเมืองแห่งสุขภาวะ กิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ เป็น 2 ชุดกิจกรรมภายใต้การดำเนินโครงการขยายผลและต่อยอดการขับเคลื่อนพื้นที่สุขภาวะ เพื่อเสริมสร้างกิจกรรมทางกายของประเทศไทย: ห้องปฏิบัติการเมืองเดินได้ – เมืองเดินดี ระยะที่ 2 รายละเอียดของกิจกรรมมีดังนี้
1. กิจกรรมเดินส่องย่าน ระยะเส้นทาง 3.5 กม.
(ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ – ตลาดเอี่ยมสมบัติ – วัดขจรศิริ – มัสยิดอัลเอียะติซอม – มัสยิดอัลกุ๊บรอ – วัดมหาบุศย์ (แม่นาคพระโขนง) – สวนเพลินพระโขนง – True Digital Park)
วิทยากรนำเส้นทาง โดย คุณนัท จุลภัสสร นักเล่าประวัติศาสตร์ย่าน
เดินเท้าระยะทางรวม 3.5 กม.และใช้ขนส่งสาธารณะบางช่วง
2. กิจกรรมปั่นมองเมือง ระยะเส้นทาง 20 กม.
(ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ – วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร – ศูนย์กีฬานราทร – วัดมหาบุศย์ (แม่นาคพระโขนง) – True Digital Park – ท่าเรือวัดบางนานอก – ถนนสรรพาวุธ – ถนนสุขุมวิท – วัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร)
วิทยากรนำเส้นทาง โดย คุณชัยยุทธ โล่ธุวาชัย ผู้ก่อตั้ง Bike in the City ปั่นรักษ์พิทักษ์เมือง
ระยะทางรวม 20 กม. แวะพักทุกระยะ 5 กม.
3. กิจกรรมวิ่งเชื่อมกรุง ระยะเส้นทาง 12 กม.
(ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ – ถนนอุดมสุข – ถนนสุขุมวิท – ถนนสรรพาวุธ – ท่าเรือวัดบางนานอก – ถนนสุขุมวิท – True DigitalPark – วัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร
วิทยากรนำเส้นทาง โดย คุณไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง Builk One Group
ระยะทางรวม 12 กม. แวะพักทุกระยะ 2 กม.
4. กิจกรรมเสวนาสาธารณะ หัวข้อ: การพัฒนาย่านพระโขนง-บางนา เพื่อตอบโจทย์การเป็น ย่านสุขภาวะ ด้วยยุทธศาสตร์ Goodwalk เมืองเดินได้-เดินดี
บรรยายพิเศษ โดย รศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC-CEUS) ผู้จัดการย่าน THE SOUTH SUKHUMVIT
วิทยากรเสวนา โดย คุณชัยยุทธ โล่ธุวาชัย ผู้ก่อตั้ง Bike in the City ปั่นรักษ์พิทักษ์เมือง คุณไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง Builk One Group คุณองศา จรรยาประเสริฐ ผู้อำนวยการโครงการ Cloud 11 และ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาโครงการ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด คุณลี้เหวิน จินดาสมาธิ หัวหน้าโครงการย่านสร้างสรรค์แลซอย ลาซาล บางนา ชุมชนหมู่บ้านศรีพงษ์
ดำเนินรายการ โดย คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง
ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สแกน QR Code ที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นายศุภกร มาเม้า
โทร. 09-5540-9921
E-mail: suppakorn.m@uddc.net
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้