ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมมือกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ช่วยเหลือโรงเรียนในจังหวัดน่านที่ประสบอุทกภัย

มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จังหวัดน่าน ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนที่ประสบอุทกภัยที่จังหวัดน่าน ภายใต้ “โครงการฟื้นฟูชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 เพื่อดำเนินการช่วยเหลือโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ 

ในช่วงเช้า เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่สำรวจโรงเรียนที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านสบหนอง และโรงเรียนชุมชนบ้านดอนตัน ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน

     – โรงเรียนบ้านสบหนอง เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาล 2 – ประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 64 คน ครูและบุคลากร 12 คน โรงเรียนได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ โดยอาคารเรียนชั้น 1 ได้รับความเสียหายทั้งหมด รวมไปถึงอุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องพยาบาล เวชภัณฑ์ต่างๆ ห้องสมุด โรงอาหาร อุปกรณ์ครัว ห้องประชุมโต๊ะ อุปกรณ์เครื่องเสียง สนามเด็กเล่น อุปกรณ์กีฬา และระบบไฟฟ้า

     – โรงเรียนชุมชนบ้านดอนตัน เปิดการเรียนการการสอนตั้งแต่ระดับชั้น  อนุบาล 2 – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 72 คน ครูและบุคลากรจำนวน 12 คน  โรงเรียนได้รับความเสียหายในส่วนของอาคารเรียนอนุบาล ห้องพยาบาล อาคารเรียนชั้น 1 โรงอาหาร ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านดอนตาล อุปกรณ์ไฟฟ้า พัดลมเพดาน สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา นักเรียนขาดชุดนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน

ต่อมา เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ไปยังบ้านผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งนักเรียนและกลุ่มเปราะบางได้รับผลกระทบจากอุทกภัย บ้านได้รับความเสียหายทั้งหลัง ห้องครัว เครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้า ชุดนักเรียน รวมไปถึงอุปกรณ์การเรียนได้รับความเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จังหวัดน่าน ได้ลงพื้นที่ไปยังบ้านของผู้ประสบอุกภัยที่ ต.แงง อ.ปัว ซึ่งถูกกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่ง ทำให้บ้านได้รับความเสียหายทั้งหลัง ในช่วงบ่าย เจ้าหน้าที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคจุฬาฯ  จังหวัดน่าน ได้ลงพื้นที่สำรวจโรงเรียนน่านนคร ต.นาปัง อ.ภูเพียง จ.น่าน ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ โรงเรียนแห่งนี้เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวนนักเรียน 164 คน จำนวน ครู และบุคคลากร 22 คน  อาคารเรียนชั้น 1 ทั้งหมด 3 อาคารได้รับความเสียหายทั้งหมด รวมถึงห้องพยาบาล ห้องดนตรีไทย ห้องเรียน ห้องสมุด อุปกรณ์กีฬา ห้องสำนักงาน และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยมูลนิธิฯ ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จะดำเนินการช่วยเหลือฟื้นฟูโรงเรียนจากอุทกภัยต่อไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า