บางโพลีฟวิ่งแลป สถาปัตย์ จุฬาฯ เป็นตัวอย่างระดับนานาชาติด้านความยั่งยืนของ ISCN report 2024

โครงการ “บางโพลีฟวิ่งแลป” (Bangpho living Lab) ผลงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับเลือกให้เป็น Best Practice ของ ISCN (International Sustainable Campus Network) ประจำปี 2024 ซึ่งเป็นเครือข่ายสถาบันการศึกษาชั้นนำกว่า 100 แห่ง จาก 32 ประเทศ
โครงการวิจัย Bangpho Living Lab เป็นตัวอย่างของการร่วมคิดร่วมทำกับชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นำเสนอบทบาทของมหาวิทยาลัยวิจัยที่สร้างผลกระทบทางบวกต่อสังคม ได้อยู่ในหมวด Campus as a Living Lab ซึ่งได้รับเกียรติให้อยู่ติดกับผลงานในหมวดเดียวกันจาก MIT/ U. Of Toronto/ National Taiwan U./ U.of Cape town ฯลฯ
คณะนักวิจัยในโครงการประกอบด้วย ผศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย หัวหน้าโครงการ และนักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รศ.พรรณชลัท สุริโยธิน ผศ.สิรินทรา วัณโณ อ.ดร.พิมพ์พร ไชยพร อ.สิรินทรา เอื้อศิริทรัพย์ อ.ธีมา หมึกทอง
ทั้งนี้ โครงการ Bangpho living Lab ได้รับทุนวิจัยจาก CU Social Innovation Hub
Credit : รูปภาพจาก International Sustainable Campus Network Best Practice Report 2024





จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย