รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 กันยายน 2567
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชาวจุฬาฯ ทั้งบุคลากร นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน และผู้สนใจร่วมงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
ประทับใจกับบทเพลงพระราชนิพนธ์ทรงคุณค่าที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระราชนิพนธ์ ขับขานและบรรเลงโดยวงดนตรีสากลสโมสรนิสิตจุฬาฯ (CU Band) และวงดนตรีนิสิตเก่า OCU Band พบกับการแสดงพิเศษที่น่าตื่นตาตื่นใจในปีนี้โดยวงโยธวาทิตจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม และการแสดงบัลเลต์ประกอบบทเพลงพระราชนิพนธ์ชุด กีนรีสวีท ซึ่งดำเนินตามการแสดงระบำเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบรมราชูปถัมภ์เรื่อง มโนห์รา ในงานกาชาด ณ สวนอัมพร ปี 2505 โดยภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สรรค์ชัย อัศวทวีโชค (แน่น) นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ประธานชมรม CU Band 2567 เผยถึงความสำคัญของงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีว่า งานนี้จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้เสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาฯ งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีที่จุฬาฯ จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนิสิตและศิลปะดนตรีที่ทรงคุณค่า นิสิตจุฬาฯ จะได้ระลึกถึงความสำคัญของดนตรี เป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ท่าน
“บทเพลงพระราชนิพนธ์มีความยากในการสื่อสารความรู้สึกผ่านบทเพลงกว่าบทเพลงทั่วไป นักดนตรีต้องสื่อความเป็น Jazz และเอกลักษณ์ของบทเพลงออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนสามารถเล่นดนตรีพร้อมเพรียงกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ นักดนตรีและนักร้องต้องฝึกฝนทักษะทางดนตรีและการขับร้อง เพื่อสื่อความหมายและความลึกซึ้งของบทเพลงออกมาได้อย่างถูกต้องและไพเราะที่สุด” ประธานชมรม CU Band กล่าว
กิตติพร ปรุงสุข (สู้) นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าฝ่ายนักดนตรี CU Band กล่าวถึงการเตรียมพร้อมของนักดนตรีว่า “ยิ่งใกล้ถึงวันงานเราซ้อมกันทุกวัน ตั้งแต่ 17.00 – 20.00 น. นักดนตรีทุกคนต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้การบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์มีความไพเราะและสมบูรณ์แบบ ทั้งการแสดงร่วมกับวงโยธวาทิตและการแสดงบัลเลต์”
การทำงานร่วมกับวงพี่เก่า OCU Band เป็นอีกหนึ่งความพิเศษของงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี เป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมที่ได้ร่วมงานกับพี่ ๆ นิสิตเก่าจุฬาฯ ซึ่งมีความเป็นมืออาชีพและช่วยแนะนำเทคนิคต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้ ทำให้การแสดงในปีนี้มีความพิเศษมากขึ้น โดยเริ่มจากการแสดงของวง CU Band ตามด้วยการแสดงของวง OCU Band และมีการแสดงร่วมกันในบทเพลงสุดท้ายคือบทเพลงพระราชนิพนธ์ “When”
ภูริภัทร ทีฆเสนีย์ (เอ็ม) นิสิตชั้นปี 4 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้านักร้องวง CU Band เผยว่า “รู้สึกเป็นเกียรติและปลาบปลื้มที่ได้มีโอกาสร่วมงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ผมรู้สึกประทับใจในบทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่งสื่อถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในบทเพลงที่มีความไพเราะ นักร้องนักดนตรีทุกคนตั้งใจเต็มที่เพื่อให้งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีสร้างความประทับใจแก่ผู้ชมมากที่สุด
“ถึงแม้งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีจะจัดขึ้นทุกปี แต่งานในปีนี้มีความพิเศษทั้งการแสดงบัลเลต์ประกอบบทเพลงพระราชนิพนธ์ชุดกีนรีสวีท และการแสดงของวงโยธวาทิตโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ผู้ที่มาร่วมงานทุกคนจะได้ซึมซับความประทับใจจากบทเพลงพระราชนิพนธ์อันไพเราะและบรรยากาศที่น่าจดจำของงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ” หัวหน้านักร้องวง CU Band กล่าว
ผู้สนใจเข้าชมฟรีในวันที่ 20 กันยายน 2567 ณ หอประชุมจุฬาฯ หรือรับชมทาง Facebook Live ทาง https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity?mibextid=ZbWKwL
เชิญร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล โดยบริจาคผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “สมทบทุนอานันทมหิดล วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” บัญชีเลขที่ 045-2-98139-9
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Line Official วันที่ระลึกวันทรงดนตรี @240wuccm สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ โทร. 0-2218-7041 ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ โทร. 0-2218-3364-6 หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : CU Band
จุฬาฯ ต้อนรับคณะผู้บริหารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมการศึกษา
“CU Blood : Dare to Give กล้าที่จะให้” จุฬาฯ ชวนบริจาคโลหิต ปลุกพลังแห่งการให้ ต่อชีวิตคนไทย
22 พ.ย. 67
ลาน Block I สยามสแควร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดสัมมนา “ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด”
29 พ.ย. 67 เวลา 09.00 น.
ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2567
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิฌอง เอมีล การ์โรซ จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดภาพถ่าย “Life & Line เส้นสายลายอัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่น” และการแสดงเปียโนคอนแชร์โตเพลงไทย
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้