รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 เมษายน 2562
ภาพข่าว
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ.นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเซลล์บำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว “ก้าวแรกสู่ความสำเร็จ การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเซลล์นักฆ่า” เมื่อวันอังคารที่ 23 เมษายน 2562 ณ ห้อง 1301 ชั้น 13 โซน C อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
“Natural Killer cell” หรือเซลล์นักฆ่า เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ซึ่งเซลล์ชนิดนี้เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนน้อยของเม็ดเลือดขาวทั้งหมดโดยจะมีอยู่ประมาณ 5-10% ของเม็ดเลือดขาวที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย โดยทั่วไปเซลล์นักฆ่าจะมีหน้าที่หลักคือการลาดตระเวนและตรวจตราหาเซลล์แปลกปลอม เซลล์ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือ เซลล์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจนอาจก่อให้เกิดอันตราย ภายในร่างกาย เมื่อเซลล์นักฆ่าตรวจสอบพบเซลล์ที่มีความเปลี่ยนแปลงหรือกลายพันธุ์ไปซึ่งมักเกิดจากจากการติดเชื้อหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นเซลล์มะเร็งนั้น เซลล์นักฆ่าจะทำลายเซลล์ผิดปกติดังกล่าวก่อนที่เซลล์เหล่านั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือพัฒนาไปสู่การเป็นโรคมะเร็ง
ด้วยความสามารถพิเศษของเซลล์นักฆ่าที่สามารถทำลายเซลล์แปลกปลอมและเซลล์ที่ผิดปกติได้โดยไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้แบบเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความสนใจและพยายามศึกษาวิจัยในการนำเซลล์นักฆ่ามาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าเราสามารถกระตุ้นและเพิ่มจำนวนเซลล์นักฆ่าภายนอกร่างกายได้ และเซลล์นักฆ่าที่ถูกกระตุ้นและเพิ่มจำนวนภายนอกร่างกายนั้นมีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในมะเร็งหลายๆ ชนิด
เนื่องจากโดยปกติเซลล์นักฆ่ามีจำนวนน้อยมากในเลือด การจะนำเซลล์นักฆ่ามาใช้ในรักษาผู้ป่วยนั้นจำเป็นจะต้องนำเซลล์นักฆ่าออกมากระตุ้นและเพิ่มจำนวนเสียก่อน
อย่างไรก็ดีจากการศึกษาวิจัยการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์นักฆ่าในระดับการวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีโรคกลับเป็นซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐานนั้น และพบว่าประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งด้วยเซลล์นักฆ่าในกลุ่มโรคมะเร็งก้อนทั้งหมดนั้นยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่พบว่าการรักษามะเร็งด้วยเซลล์นักฆ่านั้นมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคและป้องกันโรคกลับเป็นซ้ำในมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ โดยเฉพาะการใช้เซลล์นักฆ่าจาก พ่อแม่ พี่น้อง หรือลูกที่มีสารพันธุกรรมตรงกันเพียงครึ่งเดียว
ปัจจุบันมีผู้ป่วยร่วมโครงการอยู่ 5 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอิลอยด์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยผู้ป่วยทั้ง 5 รายในโครงการนี้ ได้รับการรักษาด้วยเซลล์นักฆ่าจากผู้บริจาคทั้งหมด ซึ่งนักวิจัยประสบความสำเร็จในการกระตุ้นและเพิ่มจำนวนเซลล์นักฆ่าจากผู้บริจาค ให้มีปริมาณและคุณภาพที่ได้มาตรฐานสำหรับการใช้เซลล์จริงในผู้ป่วย โดยในปี 2562 นี้ทางโครงการมีความตั้งใจจะเริ่มดำเนินโครงการต่อเนื่องเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีความเสี่ยงสูงด้วยเซลล์นักฆ่า
นอกจากการวิจัยและพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอิลอยด์ด้วยเซลล์นักฆ่าแล้วทางศูนย์ยังมีการวิจัยและพัฒนาการรักษามะเร็งด้วยเซลล์บำบัดชนิดอื่นๆ อีก ได้แก่ ที-เซลล์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้จำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง (Chimeric Antigen Receptor T-cell: CAR T-cell) สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดลิมฟอยด์, ที-เซลล์ที่มีความจำเพาะต่อไวรัส (Virus specific T-cell) สำหรับการรักษาการติดเชื้อไวรัสภายหลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดและโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก และ วัคซีนมะเร็งจากเดนไดรติกเซลล์ (Dendritic cell vaccine) โดยจะนำความคืบหน้าของโครงการต่างๆ มาแจ้งในโอกาสต่อไป
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.md.chula.ac.th/12084/
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2568 กับงานวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและยุโรปศึกษา
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
เสวนา “พหุสังคมในคลองตะเคียน ร้อยเรียงวัฒนธรรมสู่การพัฒนาชุมชน”
PMCU ชวนน้อง ๆ นิสิต นักศึกษา ส่งผลงานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ภายใต้แนวคิด “Chula For All” พื้นที่สำหรับทุกคน
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้