รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ผู้จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม ต.ท่าราบ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ในวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น.
วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีเนื้อที่ 20 ไร่เศษ สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ โดยพระสุวรรณมุณี (สังฆราชแตงโม) ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง จากนั้นได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง ทำให้มีการสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น เช่น สร้างพระระเบียงคดรอบพระอุโบสถ สร้างหอสวดมนต์ ปรับปรุงกุฏิสงฆ์ ศาลาคู่ หอระฆัง และสร้างกำแพงรอบวัดพร้อมซุ้มประตู สระนํ้า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินในการปฏิสังขรณ์วัดด้วย อีกทั้งยังได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรวัดใหญ่สุวรรณารามหลายครั้ง
ปูชนียวัตถุสถานและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญในพระอาราม
– พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยก่ออิฐถือปูน ฐานพระอุโบสถยกพื้นสูง เป็นฐาน 2 ชั้น พื้นปูด้วยกระเบื้องดินเผา บานประตูเป็นแผ่นไม้สักหนา ด้านนอกทาสีแดง ด้านในมีภาพเขียนรูปทวารบาล ผนังภายในพระอุโบสถทั้ง 4 ด้าน เขียนจิตรกรรมสีฝุ่น ผนังด้านหน้าพระประธาน พื้นที่ระหว่างเสาในประธานซึ่งเป็นเสานางแบบ เขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติ ตอนมารผจญ พื้นที่นอกเสาประธานเหนือช่องประตูด้านซ้ายและขวา เขียนเป็นลายพันธุ์พฤกษาจนถึงฝ้าเพดาน หลังบานประตู เขียนเป็นรูปเทพทวารบาลยืนหันให้เห็นด้านหน้า สวมมงกุฎทรงเทริดแบบมงกุฎพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา
– พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ทรงสูง ลักษณะเป็นฐานสิงห์ ประดับลวดลายปูนปั้น ปิดทองประดับกระจก
– ระเบียงคดหรือศาลาราย ตั้งล้อมรอบพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นหลัง ๆ ทั้งหมด 8 หลัง ก่ออิฐถือปูน ด้านหลังทึบ ด้านหน้าเปิดโล่ง มีเสารับนํ้าหนักเครื่องบนหลังคาซึ่งเป็นทรงจตุรมุขซ้อน 2 ชั้น ปัจจุบันมุงด้วยกระเบื้องเคลือบหางมน ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
– ศาลาการเปรียญ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นศาลาขนาด 10 ห้อง ยาว 15 วา กว้าง 5 วา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดใหญ่สุวรรณารามในครั้งนี้ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะนำเงินบริจาคที่รวบรวมได้ทั้งหมดถวายเพื่อบำรุงพระอาราม สามารถร่วมทำบุญผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 131-3-95521-0 หรือสแกน QR Code
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มภารกิจพิธีการและกิจการพิเศษ ศูนย์บริหารกลาง จุฬาฯ โทร. 0-2218-0261, 0-2218-0184
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “ใจนิ่ง…ในวันที่โลกไม่แน่นอน : จิตวิทยาในการรับมือภัยพิบัติ”
กิจกรรม CUVIP เดือนเมษายน “Future Science & Technology : วิทยาศาสตร์เพื่อวันข้างหน้า”
1 - 21 เม.ย. 68
เอกอัครราชทูตโรมาเนียและคณะ เยือนวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ส่งเสริมความร่วมมือไทย-โรมาเนียด้านวิชาการและอุตสาหกรรม
รศ.ดร.เบญจพร สุวรรณศิลป์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับมอบเหรียญที่ระลึกและประกาศเกียรติคุณ จาก University of South Florida
สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ “Digital Craft” เวทีความรู้ด้านออกแบบและสถาปัตยกรรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
ช่อง 7HD จับมือจุฬาฯ เปิด “4 ซีรีส์ กีฬานักเรียน แชมป์กีฬา 7HD 2025” จุฬาฯ พร้อมสนับสนุนสร้างอนาคตครั้งสำคัญเพื่อเด็กไทย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้