ข่าวสารจุฬาฯ

เชิดชูเกียรติอาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ คว้ารางวัลการประกวดนวัตกรรมในระดับนานาชาติ

          อาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ซึ่งคว้ารางวัลจากการประกวดผลงานนวัตกรรมในเวทีต่างๆ ในระดับนานาชาติ ปี 2567 เข้ารับประกาศนียบัตรจากนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ในพิธีแสดงความความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงาน

          ในโอกาสนี้ รศ.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านวิจัย และ ศ.ดร.บัญชา พูลโภคา ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี ด้านงานพัฒนาวิจัย ได้มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ผู้ผลิตผลงานวิจัยที่สร้างชื่อเสียงในระดับนานาชาติผ่านเวทีการประกวดในต่างประเทศ ดังนี้

  • ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจดีเอ็นเอภาคสนามแบบรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีคริสเปอร์-แคส 12 เอ สำหรับพืชพิษที่สร้างกรดอริสโทโลกิกซึ่งทำให้เกิดโรคไต” โดย ศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง จากคณะเภสัชศาสตร์  ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
  • ผลงานเรื่อง “Senovate AI: ระบบติดตามพฤติกรรมโคนม/โคเนื้อแบบเรียลไทม์สำหรับปศุสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อนชื้นด้วยระบบเซ็นเซอร์ AI ที่มีความแม่นยำสูงเพื่อลดรอบผสมเทียมและทำนายโรคระบาด” โดย ผศ.น.สพ.ดร.ชัยเดช อินทร์ชัยศรี จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ (น.สพ.พงศนันท์ ขำตา รับแทน)ได้รับรางวัลเหรียญเงิน และรางวัล Prize of the Delegation of Malaysia
  • ผลงานเรื่อง “BioCa: ปุ๋ยน้ำแคลเซียมคีเลต” โดย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง
  • ผลงานเรื่อง “ดีบัก: สารกำจัดแมลงศัตรูพืชชีวภาพจากขยะเปลือกไข่” โดย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง
  • ผลงานเรื่อง “เจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติกเพื่อใช้ทาลบเลือนรอยแผลเป็น” โดย ผศ.ภญ.ดร.รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ จากคณะเภสัชศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง และถ้วยรางวัลพิเศษ Special Prize for the best international invention
  • ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศโกโก้” โดย ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน จาก สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร ได้รับรางวัลเหรียญทอง
  • ผลงานเรื่อง “เส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง พร้อมทาน” โดย ผศ.ดร.สถาพร งามอุโฆษ คณะสหเวชศาสตร์ รางวัลเหรียญทอง
  • ผลงานเรื่อง “ทรายมุก: ทรายประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่สำหรับงานศิลปะเพื่อความยั่งยืน” โดย ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special prize จาก Association for the Promotion of Polish Science, Technology and Innovation (SPPNTI)
  • ผลงานเรื่อง “ECO-Deco: ทรายประกายแก้วแปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่เพื่อการตกแต่งที่ยั่งยืน” โดย อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ได้รับรางวัลเหรียญทอง
  • ผลงานเรื่อง “CU-Dough: แป้งโดว์ป้องกันแบคทีเรียด้วย Cu nanoparticles” โดย อ.น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล และคณะ จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ได้รับรางวัลเหรียญทอง
  • ผลงานเรื่อง “องค์ประกอบสำหรับเพิ่มความสามารถในการต้านทานต่อเชื้อก่อโรคในปลานิลโดยนาโนอิมัลชันกักเก็บสารขมิ้นชันและองค์ประกอบนาโนอิมัลชันกักเก็บสารสกัดฟ้าทลายโจร” โดย รศ.น.สพ.ดร.นพดล พิฬารัตน์ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน และ Special Prize จาก Indonesian Innovation and Invention Promotion Association (INNOPA)
  • ผลงานเรื่อง “deBUG Kitchen Factory: ระบบการผลิตสารกำจัดแมลงอินทรีย์จากขยะเปลือกไข่ด้วยเครื่องครัวและเครื่องปรุงอาหาร” โดย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง
  • ผลงานเรื่อง “Wish-craft: กิจกรรมศิลปะ Arts and Crafts เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ” โดย ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง

  • ผลงานเรื่อง “เข็มขัดเซ็นเซอร์ตรวจกลูโคสจากเหงื่อสำหรับคัดกรองเบาหวานด้วยตนเองที่อ่านผลบนสมาร์ทโฟน” โดย ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ได้รับรางวัลเหรียญทอง และรางวัล Special Award จาก European Academy of Sciences


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า