รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม 202 และ 203 อาคารจามจุรี 4 สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น จัดการประชุมสัมมนาพิเศษ ครั้งที่ 32 (The 32nd Special CU-af Seminar 2024) และพิธีมอบทุนวิจัย มูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น ประจำปี 2567 โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับและเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน
ภายในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัยของผู้ได้รับทุนวิจัย มูลนิธิกระจกอาซาฮี ในปี 2565-2566 ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และ Mr. Takuya Shimamura ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น ร่วมพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น จากนั้น Mr. Takuya Shimamura ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่นกล่าวแสดงความยินดี และมีพิธีมอบทุนวิจัยประจำปี 2567 แก่อาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ จำนวน 11 ท่าน รวมทั้งมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “The Future of Research : How AI Will Make Us Smarter (Without Marking Us Lazy)” โดย รศ.ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
การประชุมสัมมนาพิเศษ Special CU-af Seminar และพิธีมอบทุนวิจัย มูลนิธิกระจกอาซาฮี ประเทศญี่ปุ่น เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยของคณาจารย์จุฬาฯ ที่ได้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากมูลนิธิกระจกอาซาฮี และมีพิธีมอบทุนวิจัยมูลนิธิกระจกอาซาฮีแก่คณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้