รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 กันยายน 2567
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” วันที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 18.00 – 21.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างปี 2501 – 2516 โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีปีนี้การขับร้องและบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์และบทเพลงไพเราะโดยวงดนตรี CU Band และวงดนตรีพี่เก่า OCU Band รวมทั้งการแสดงพิเศษที่น่าตื่นตาตื่นใจโดยวงโยธวาทิตจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม และการแสดงบัลเลต์ประกอบบทเพลงพระราชนิพนธ์ชุด กีนรีสวีท โดยภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งดำเนินตามการแสดงระบำเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบรมราชูปถัมภ์เรื่อง มโนห์รา ในงานกาชาด ณ สวนอัมพร ปี 2505 ในงานมีการบริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาในงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี 20 กันยายนของทุกปี
การแสดงในงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ในปีนี้เริ่มด้วยการขับร้องโดยวงดนตรี CU Band ในเพลงสดุดีจอมราชา ดอกรวงผึ้ง ยามเย็น สายฝน การแสดงบัลเลต์โดยนิสิตภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับวงดนตรี CU Band ในเพลง Nature Waltz, The Hunter, Kinari Waltz การขับร้องและบรรเลงโดยวงโยธวาทิตจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม ร่วมกับวงดนตรี CU Band ในเพลง มาร์ชราชนาวิกโยธิน มาร์ชราชวัลลภ
จากนั้นเป็นการแสดงโดยวงดนตรีนิสิตเก่าจุฬาฯ OCU Band ขับขานบทเพลงไพเราะ ได้แก่ สดุดีพระแม่ไทย พระบรมราชินีมิ่งขวัญดวงใจ พระมิ่งขวัญจุฬา ชะตาชีวิต เทวาพาคู่ฝัน ใกล้รุ่ง Oh I Say จามจุรีประดับใจ เพชรชมพู ร่มจามจุรี CU Polka ปิดท้ายด้วยการขับร้องร่วมกันระหว่างวงดนตรี CU Band และ OCU Band ในบทเพลงพระราชนิพนธ์ “When”
“วันทรงดนตรี” เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานแก่คณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ที่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ที่ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาฯ เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2500 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ต่อมาได้รับสั่งกับนายสันทัด ตัณฑนันทน์ หัวหน้าวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ สมัยนั้น ว่าจะนำวงลายครามมาบรรเลงที่จุฬาฯ งานวันทรงดนตรีที่จุฬาฯ จึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2501
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จฯมาทรงดนตรีที่จุฬาฯ ระหว่างปี 2501 – 2516 เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มขึ้นจึงไม่ได้เสด็จฯมาทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยอีกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีในวันที่ 20 กันยายนของทุกปีโดยกำหนดไว้ในปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้