รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัทลิงค์อิน คอร์ปอเรชั่น (LinkedIn) ร่วมลงนามความร่วมมือ “การสร้างโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้จากคอร์สออนไลน์ platform LinkedIn learning” พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างกันจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 ณ ห้องรับรองชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และคุณภัทรเสฏฐ หนุนภักดี Country Lead of LinkedIn Thailand เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ กล่าวรายงานโดย ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ จากนั้น ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และคุณภัทรเสฏฐ หนุนภักดี Country Lead of LinkedIn Thailand กล่าวถึงแนวทางและเป้าหมายของความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ LinkedIn
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในยุคดิจิทัล ในขณะเดียวกัน บริษัทลิงค์อิน คอร์ปอเรชั่น (LinkedIn) ได้พัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ LinkedIn Learning ซึ่งมีบทเรียนที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน ตั้งแต่ทักษะทางเทคนิค จนถึงทักษะด้านการบริหารงานและการพัฒนาตนเอง พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัทลิงค์อิน คอร์ปอเรชั่น (LinkedIn) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาความรู้และทักษะผ่านคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม LinkedIn Learning ซึ่งมีเนื้อหาที่ได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้แก่บุคลากรทั้งในด้านวิชาการ การบริหารจัดการ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพที่สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับบริษัทลิงค์อิน คอร์ปอเรชั่น (LinkedIn) ในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้บุคลากรของจุฬาฯ สามารถเติบโตในสายอาชีพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ความร่วมมือในครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ LinkedIn ได้ร่วมมือกันในด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เช่น การสร้างเครือข่ายหรือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกัน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า นอกจากบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้แล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรโดยอาศัยการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มระดับโลกที่มีผู้ใช้มากมาย ดังนั้นการที่ LinkedIn เข้ามาร่วมมือกับจุฬาฯ ในครั้งนี้จึงส่งเสริมบทบาทด้านการเสริมสร้างการเรียนรู้ไปสู่สังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อบุคลากรจุฬาฯ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อพัฒนาบุคลากรจุฬาฯ ให้เป็นผู้ใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตลอดเวลา
คุณภัทรเสฏฐ หนุนภักดี Country Lead of LinkedIn Thailand กล่าวถึงความร่วมมือระหว่าง LinkedIn กับจุฬาฯ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่สำคัญของประเทศ โดย LinkedIn จะเข้ามาพัฒนาในเรื่องของทักษะซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในทั่วโลก เพื่อให้นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ มีทักษะในอนาคตที่ถูกต้อง สามารถใช้งานได้จริงในโลกปัจจุบัน LinkedIn มีแพลตฟอร์มที่สามารถพัฒนาทักษะเหล่านั้นได้ เนื้อหาในแพลตฟอร์ม LinkedIn learning 95% เป็นเนื้อหาที่ LinkedIn ผลิตเองซึ่งเป็นคอร์สที่ตรงตามความต้องการและทักษะของผู้เรียน ปัจจุบัน LinkedIn มีคอร์สออนไลน์กว่า 20,000 คอร์ส ซึ่งได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง
จุฬาฯ ต้อนรับคณะผู้บริหารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมการศึกษา
“CU Blood : Dare to Give กล้าที่จะให้” จุฬาฯ ชวนบริจาคโลหิต ปลุกพลังแห่งการให้ ต่อชีวิตคนไทย
22 พ.ย. 67
ลาน Block I สยามสแควร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดสัมมนา “ภัยคุกคามจากสาร PFAS และการตรวจวิเคราะห์ล่าสุด”
29 พ.ย. 67 เวลา 09.00 น.
ห้อง 1106 ชั้น 11 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2567
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับมูลนิธิฌอง เอมีล การ์โรซ จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดภาพถ่าย “Life & Line เส้นสายลายอัตลักษณ์ชุมชนท้องถิ่น” และการแสดงเปียโนคอนแชร์โตเพลงไทย
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้