รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอร่วมแสดงความยินดีเนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 2-4 ตุลาคม 2567 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอมอบภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ของขวัญแทนใจ Heartful Gift” ภายใต้แนวคิด Good Gift ใจคือของขวัญที่ดีที่สุด เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนมาร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตแบบ “พอเพียง” ด้วยการมอบของขวัญที่มีประโยชน์และใช้ได้จริง เพื่อใส่ใจทั้งบัณฑิตและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ของขวัญแทนใจ Heartful Gift” เป็นภาพยนตร์สั้นแนวละครล้อเลียน Parody นำเสนอในรูปแบบภาพแนวตั้งสำหรับสื่อสารผ่าน TikTok และสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ที่เข้าถึงเหล่า GenZ โดยภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้มุ่งเชิญชวนทุกคนที่มาร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตด้วยการส่งมอบรอยยิ้ม และของขวัญที่มีประโยชน์ใช้ได้จริง มีความรักษ์โลกแก่บัณฑิต ภายใต้แนวคิด Good Gift อีกทั้งยังชวนให้ทุกคนร่วมลุ้นไปกับการขอความรักจากสาวบีลีฟผ่านของขวัญของหนุ่มฮาร์ทคนเชยๆ ที่แสนจริงใจ
ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ของขวัญแทนใจ Heartful Gift” อำนวยการสร้างโดย โชริวเคน โปรดักชั่น ทีมงานสำคัญที่ทำให้หนังปริญญาของจุฬาฯ หลายเรื่องได้รับรางวัลระดับโลก เช่น เรื่อง “Give smiles, not gifts” ปี 2565 เรื่อง “Life of Kwan” ปี 2563 เรื่อง “The Gift” ปี 2562 เป็นต้น โดยปีนี้ ได้ร่วมมือกับผู้กำกับ บอย-ทวีศักดิ์ นิมมาลัยรัตน์ และมือเขียนบทโดย กฤษณะ จิตรเนาวรัตน์ นอกจากนี้ยังมีนักแสดงน้องๆ นิสิตจุฬาฯ มาร่วมสร้างความสนุกในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ นางสาว กรระวี โชคจินดาชัย (น้องเดียร์) คณะอักษรศาสตร์ ผู้ซึ่งมารับบทเป็น “บีลีฟ” นางเอกของเรื่อง หรือ นางสาว ณัฐพร ลี้รากรีผล (น้องครีม) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี รับบทเป็นเพื่อนสาวของบีลีฟ และ นาย ภูธิป สุกกรี (น้องเอ็ม) ศิษย์เก่าคณะนิเทศศาสตร์” มาร่วมส่งความสนุกสนานในบทของ “ฮาร์ท” พระเอกของเรื่อง
บอย-ทวีศักดิ์ นิมมาลัยรัตน์ ผู้กำกับ กล่าวว่า “ การถ่ายทำเรื่อง “ของขวัญแทนใจ Heartful Gift” นี้ เป็นเรื่องที่ท้าทายเรื่องหนึ่ง เพราะนอกจากต้องตีโจทย์ให้แตกแล้ว ในการถ่ายทำยังมีจำนวนซีนที่ต้องถ่ายทั้งหมด 51 ฉาก ภายใน 1 วันเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนซีนที่เยอะมาก แต่ด้วยความร่วมมือกับทุกฝ่าย จึงทำให้การถ่ายทำราบรื่น และสามารถทำผลงานออกมาได้ตรงตาม Storyboard ที่ทีมวางกันไว้ อีกทั้งภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ก็สามารถตอบโจทย์ที่ทางจุฬาฯ วางไว้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การรณรงค์มอบของขวัญที่มีประโยชน์กับบัณฑิต (Good Gift), การนำแก้วน้ำมาเองเพื่อช่วยลดขยะที่เกิดขึ้นในวันรับปริญญาก็สามารถสอดแทรกเข้าไปในหนังได้อย่างกลมกลืน … ผมหวังว่า ภาพยนตร์สั้นแนวล้อเลียน เรื่อง“ของขวัญแทนใจ Heartful Gift” นี้จะทำให้ทุกคนได้ลุ้นไปกับตัวแสดง และมีความสุขกับการมอบ Good Gift ที่รักษ์โลกแก่คนที่คุณรัก ขอบคุณครับ”
รับบชม ภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ของขวัญแทนใจ Heartful Gift” ได้แล้ววันนี้ 4 ตอนจบ ทาง
EP.1 ใจ…คือของขวัญที่ดีที่สุด : https://shorturl.asia/3haLm หรือ
EP.2 ลดขยะในวันรับปริญญา.. เราทำได้ : https://shorturl.asia/3640 หรือ
EP.3 ของขวัญแบบไหนตรงใจบัณฑิต : https://shorturl.asia/EfWNX หรือ
EP.4 GoodGift ของขวัญแทนใจที่ดีที่สุด : https://shorturl.asia/s8YIM หรือ
ติดตามสาระความรู้และไลฟ์สไตล์ในรั้วจุฬาฯ เพิ่มเติมได้ที่
https://www.tiktok.com/@chulalongkornuniversityhttps://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้