รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 กันยายน 2567
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
ศูนย์แม่โขงศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “การขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างไทยกับเวียดนาม ภายใต้ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยง 3 ด้าน (Three Connects)” เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม Mandarin C โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดยมีนายปิยภักดิ์ ศรีเจริญ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน H.E. Mr. Pham Viet Hung เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี และ ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาฝ่ายวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมเสวนา โดยกล่าวถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างไทยและเวียดนามผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจ ห่วงโซ่อุปทาน และความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับอนุภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมงานเสวนาในครั้งนี้จะนำไปพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนความร่วมมือไทย-เวียดนามในอนาคต
การเสวนาวิชาการหัวข้อ “การขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมระหว่างไทยกับเวียดนาม ภายใต้ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยง 3 ด้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับเวียดนามในหลายมิติ โดยมีการอภิปรายเกี่ยวกับการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน เศรษฐกิจท้องถิ่น และยุทธศาสตร์การพัฒนา เน้นความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและเวียดนามเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในงานมีการปาฐกถาในหัวข้อ “สู่การเติบโตร่วมกัน : โอกาสและความท้าทายของไทย – เวียดนามในการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม” โดยคุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม ซึ่งให้มุมมองที่สำคัญเกี่ยวกับการเติบโตร่วมกันของทั้งประเทศโดยการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน (Connecting Supply Chains)
นอกจากนี้มีการบรรยายในหัวข้อ “การเชื่อมโยงธุรกิจท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจข้ามแดนไทย-เวียดนาม” โดย ดร.ทอง กุลธัญวัฒน์ นายกสมาคมนักธุรกิจไทย-เวียดนามแห่งประเทศไทย ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของการร่วมมือระหว่างธุรกิจท้องถิ่นของสองประเทศ และการบรรยายในหัวข้อ “การเชื่อมโยงโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสีเขียวของเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ซึ่งมุ่งเน้นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความร่วมมือในด้านสิ่งแวดล้อม
งานเสวนาครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างประเทศไทยและเวียดนาม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและโลก หลังจากการบรรยายของวิทยากร มีการเปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักวิชาการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้