ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสโดยสารคณะทัศนศึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ให้ความรู้การดูแลจิตใจเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรับรู้ข่าวสาร

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสโดยสารคณะทัศนศึกษา วันที่ 1 ตุลาคม 2567
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้

ทั้งนี้ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดูแลจิตใจเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรับรู้ข่าวสารจากเหตุการณ์นี้ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ดังนี้

การดูแลจิตใจเบื้องต้น
สำหรับทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการรับรู้ข่าวสาร

  1. งดเว้นการแชร์ข่าว/เหตุการณ์ไปยังคนรอบตัวที่ท่านคิดว่ามีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับเหตุการณ์ อาจด้วยเจตนาดีที่อยากให้พวกเขาระวังตัวมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เขาเหล่านั้นเกิดความเศร้า วิตกกังวลมากกว่าปกติได้
  2. ดูแลกายและใจของตนเองให้ดีที่สุด แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นผู้ประสบเหตุโดยตรง แต่การมีความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ดังกล่าว อาจดึงให้เราเกิดอารมณ์ทางลบ จมดิ่งไปกับเหตุการณ์ได้ เช่น ผู้ที่มีลูกวัยเล็กเหมือนกัน ผู้ที่ตนเองหรือคนใกล้ชิดเคยมีประสบการณ์อุบัติเหตุในท้องถนน
  3. เพิ่มความมั่นใจให้ตนเองและครอบครัวในการตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันภัยในบ้าน ที่ทำงาน ยานพาหนะ ศึกษาแนวทางการดูแลตนเองและคนใกล้ตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤต

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เพื่อให้พื้นที่แก่ครอบครัวของผู้ที่เกี่ยวข้อง แม้เราจะห่วงใยและรู้สึกมีส่วนร่วม คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ได้เสนอถึงสิ่งที่ควรทำและควรหลีกเลี่ยงดังนี้

Do & Don’t

  1. เปิดพื้นที่ให้ครอบครัวได้เข้าถึงข้อมูลด้วยตนเอง​ ไม่ควรส่งภาพหรือข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังครอบครัว หรือคนอื่นๆ
  2. ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ครอบครัวในการประมวลเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง​​
  3. ร่วมแสดงความเสียใจ แต่ไม่ซักถามถึงข้อมูลก่อนหรือหลังเกิดเหตุการณ์ หากครอบครัวไม่ได้เริ่มการสื่อสารเอง
  4. สื่อสารด้วยคำพูดที่เป็นกลาง​ ไม่กระตุ้นเร้า​​​​ ไม่นำเสนอภาพการสูญเสีย หรืออธิบายเหตุการณ์ด้วยคำพูดที่กระตุ้นเร้าที่อาจเพิ่มการรับรู้ความสูญเสียที่เกิดขึ้น

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า